TFEX
รู้จักกลไกซื้อขาย
ก่อนเริ่มซื้อขายในตลาด TFEX ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจกลไกการซื้อขายหรือกระบวนการที่สำคัญก่อน ซึ่งสิ่งที่คล้ายกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็คือผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อขายในตลาด TFEX จะต้องทำการส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่านโบรกเกอร์ เพียงแต่โบรกเกอร์ดังกล่าวต้องเป็นสมาชิกของตลาด TFEX ทั้งนี้ สำหรับขั้นตอนการซื้อขายในตลาด TFEX สามารถสรุปเป็น 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ได้ดังนี้
1.2
Groupเปิดบัญชีอนุพันธ์กับโบรกเกอร์ ที่เป็นสมาชิกของ TFEX
เนื่องจากการส่งคำสั่งซื้อขาย Futures หรือ Options ผู้ลงทุนจะต้องส่งคำสั่งผ่านโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาด TFEX ดังนั้น ผู้ลงทุนจะต้องเปิดบัญชีอนุพันธ์ก่อน ซึ่งเป็นคนละบัญชีกับการซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ โดยบัญชีอนุพันธ์บัญชีเดียวสามารถ ซื้อขายได้ทุกสินค้าใน TFEX
Registration เปิดบัญชีอนุพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ คลิก  linkout
ตรวจสอบรายชื่อโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาด TFEX คลิก linkout

กระบวนการในการเปิดบัญชีอนุพันธ์ไม่ได้ต่างจากการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นมากนัก โดยผู้ลงทุนต้องทำการพิสูจน์ตัวตน (KYC) และประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้า ส่วนเอกสารเบื้องต้นที่ต้องใช้ประกอบการเปิดบัญชีมีดังนี้หรือตามแต่ละโบรกเกอร์ร้องขอ
     1. สำเนาบัตรประชาชน
     2. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
     3. Statement ย้อนหลัง (ขึ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทสมาชิก ที่ท่านได้เปิดบัญชี)

Group (1)วางเงินประกันก่อนการซื้อขาย 
การซื้อขายอนุพันธ์ผู้ลงทุนไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนตามมูลค่าสัญญา แต่จะวางเพียงแค่ เงินหลักประกันประมาณ 5-20% ของมูลค่าสัญญา หรือตามที่โบรกเกอร์กำหนดโดยใน บัญชีอนุพันธ์จะต้องมีเงินเพียงพอ อย่างน้อยเท่ากับหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ของสินค้านั้น ก่อนการส่งคำสั่งซื้อขาย
Sustainable-business
ทำความเข้าใจเงินวางหลักประกันในตลาด TFEX คลิก linkout
  • การเปิดสถานะที่ต้องมีการวางเงินประกัน คือ Long Futures, Short Futures และ Short Options
  • ส่วนการเปิดสถานะ Long Options ไม่ว่าจะเป็น Call หรือ Put จะชำระค่า Premium เต็มจำนวน (เสมือนการซื้อด้วยเงินสด) จึงไม่ต้องวางเงินประกัน
  • หากผู้ลงทุนมีสถานะทั้ง Futures และ Options รวมกันอยู่ในพอร์ต ระบบจะคำนวณเงินประกันโดยวิธีคิดเงินประกันรวมสถานะทั้งพอร์ตเข้าด้วยกัน
Group (2)
ส่งคำสั่งซื้อขาย
การซื้อขายในตลาด TFEX ใช้วิธีการจับคู่คำสั่งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย คล้ายกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการส่งคำสั่งซื้อขาย Futures และ Options ใน TFEX จะต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
button-check   ต้องการ “ซื้อ” (Long) หรือ “ขาย” (Short) สินค้าประเภทไหน ต้องการซื้อหรือขายสัญญาที่สิ้นสุดอายุ “เดือน” ไหน

button-check   ต้องการซื้อหรือขาย ที่ “ราคา” เท่าใด

button-check   ต้องการซื้อหรือขาย “จำนวน” กี่สัญญา

Consumer-society
ทำความเข้าใจวิธีการส่งคำสั่งซื้อในตลาด TFEX คลิก linkout
Group (3)
ติดตามผลกำไรขาดทุน
หลังจากส่งคำสั่งซื้อขายหรือมีสถานะสัญญาใน TFEX แล้ว ทุกสิ้นวันทำการจะมีการปรับ ยอดเงินหลักประกันที่ผู้ลงทุนวางไว้ให้เป็นปัจจุบัน (Mark to Market) หรือพูดง่ายๆ ว่าจะ มีการคำนวณเงินกำไรขาดทุนทุกๆสิ้นวันทำการโดยหากมีผลกำไรจะมีการโอนเงินส่วน กำไรเข้าบัญชี แต่หากขาดทุนเงินประกันจะถูกหักออกจากบัญชี ดังนั้น เงินหลักประกันที่ผู้ลงทุนวางไว้ตอนแรกอาจจะปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปหรือ กำไรขาดทุนที่เกิดขึ้น ในแต่ละวันผู้ลงทุนจึงควรติดตามผลการซื้อขาย โดยคำนึงถึง 3 สิ่งที่สำคัญ คือ สถานะพอร์ต กำไรหรือขาดทุน อัตราหลักประกันคงเหลือ และทิศทางตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่คาดการณ์หรือไม่
Market-research-studies

Groupเปิดบัญชีอนุพันธ์กับโบรกเกอร์ ที่เป็นสมาชิกของ TFEX
 เนื่องจากการส่งคำสั่งซื้อขาย Futures หรือ Options ผู้ลงทุนจะต้องส่งคำสั่งผ่านโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาด TFEX ดังนั้น ผู้ลงทุนจะต้องเปิดบัญชีอนุพันธ์ก่อน ซึ่งเป็นคนละบัญชีกับการซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ โดยบัญชีอนุพันธ์บัญชีเดียวสามารถ ซื้อขายได้ทุกสินค้าใน TFEX

 เปิดบัญชีอนุพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ คลิก  linkout
ตรวจสอบรายชื่อโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาด TFEX คลิก linkout

กระบวนการในการเปิดบัญชีอนุพันธ์ไม่ได้ต่างจากการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นมากนัก โดยผู้ลงทุนต้องทำการพิสูจน์ตัวตน (KYC) และประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้า ส่วนเอกสารเบื้องต้นที่ต้องใช้ประกอบการเปิดบัญชีมีดังนี้หรือตามแต่ละโบรกเกอร์ร้องขอ
     1. สำเนาบัตรประชาชน
     2. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
     3. Statement ย้อนหลัง (ขึ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทสมาชิก ที่ท่านได้เปิดบัญชี)

Registration
Group (1)วางเงินประกันก่อนการซื้อขาย 
การซื้อขายอนุพันธ์ผู้ลงทุนไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนตามมูลค่าสัญญา แต่จะวางเพียงแค่ เงินหลักประกันประมาณ 5-20% ของมูลค่าสัญญา หรือตามที่โบรกเกอร์กำหนดโดยใน บัญชีอนุพันธ์จะต้องมีเงินเพียงพอ อย่างน้อยเท่ากับหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ของสินค้านั้น ก่อนการส่งคำสั่งซื้อขาย

ทำความเข้าใจเงินวางหลักประกันในตลาด TFEX คลิก linkout
  • การเปิดสถานะที่ต้องมีการวางเงินประกัน คือ Long Futures, Short Futures และ Short Options
  • ส่วนการเปิดสถานะ Long Options ไม่ว่าจะเป็น Call หรือ Put จะชำระค่า Premium เต็มจำนวน (เสมือนการซื้อด้วยเงินสด) จึงไม่ต้องวางเงินประกัน
  • หากผู้ลงทุนมีสถานะทั้ง Futures และ Options รวมกันอยู่ในพอร์ต ระบบจะคำนวณเงินประกันโดยวิธีคิดเงินประกันรวมสถานะทั้งพอร์ตเข้าด้วยกัน
Sustainable business
Group (2)
ส่งคำสั่งซื้อขาย
การซื้อขายในตลาด TFEX ใช้วิธีการจับคู่คำสั่งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย คล้ายกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการส่งคำสั่งซื้อขาย Futures และ Options ใน TFEX จะต้องระบุรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
button-check   ต้องการ “ซื้อ” (Long) หรือ “ขาย” (Short) สินค้าประเภทไหน ต้องการซื้อหรือขายสัญญาที่สิ้นสุดอายุ “เดือน” ไหน

button-check   ต้องการซื้อหรือขาย ที่ “ราคา” เท่าใด

button-check   ต้องการซื้อหรือขาย “จำนวน” กี่สัญญา

ทำความเข้าใจวิธีการส่งคำสั่งซื้อในตลาด TFEX คลิก linkout
Consumer society
Group (3)
ติดตามผลกำไรขาดทุน
หลังจากส่งคำสั่งซื้อขายหรือมีสถานะสัญญาใน TFEX แล้ว ทุกสิ้นวันทำการจะมีการปรับ ยอดเงินหลักประกันที่ผู้ลงทุนวางไว้ให้เป็นปัจจุบัน (Mark to Market) หรือพูดง่ายๆ ว่าจะ มีการคำนวณเงินกำไรขาดทุนทุกๆสิ้นวันทำการโดยหากมีผลกำไรจะมีการโอนเงินส่วน กำไรเข้าบัญชี แต่หากขาดทุนเงินประกันจะถูกหักออกจากบัญชี ดังนั้น เงินหลักประกันที่ผู้ลงทุนวางไว้ตอนแรกอาจจะปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปหรือ กำไรขาดทุนที่เกิดขึ้น ในแต่ละวันผู้ลงทุนจึงควรติดตามผลการซื้อขาย โดยคำนึงถึง 3 สิ่งที่สำคัญ คือ สถานะพอร์ต กำไรหรือขาดทุน อัตราหลักประกันคงเหลือ และทิศทางตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่คาดการณ์หรือไม่
Market research studies

แท็กที่เกี่ยวข้อง: เริ่มต้นซื้อขายใน TFEX
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง