TFEX

คำถามที่พบบ่อย

General Information - คำถามเกี่ยวกับตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX เดิมชื่อ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 เพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ซึ่งได้เริ่มเปิดดำเนินการซื้อขายสินค้าตัวแรกในวันที่ 28 เมษายน 2549 โดยมีสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานกำกับดูแล
จากพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 สินค้าที่สามารถซื้อขายได้คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) และออปชั่น (Options) ที่อ้างอิงกับสินทรัพย์ประเภทต่างๆได้ดังนี้
  • ตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ และหลักทรัพย์
  • ตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย
  • สินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ ทองคำ โลหะเงิน น้ำมันดิบ แพลทินัม ทองแดง สังกะสี เหล็ก อะลูมิเนียม ดีบุก ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า พลาสติก ค่าระวาง คาร์บอนเครดิต และดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์
  • อัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรืออื่นๆ ตามที่ คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  • สินค้าเกษตร ได้แก่ ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง
Product & Trading - คำถามเกี่ยวกับสินค้าและวิธีการซื้อขาย
ท่านสามารถดูข้อมูลการซื้อขาย
ท่านสามารถดูข้อมูลได้ที่หน้าสินค้าใน TFEX
โดยท่านสามารถติดต่อเพื่อเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาด TFEX โดยดูรายชื่อได้ที่หน้ารายชื่อสมาชิก
โบรกเกอร์ที่สามารถรับคำสั่งซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และต้องเป็นสมาชิกของตลาด TFEX ด้วย โดยท่านสามารถดูรายชื่อโบรเกอร์บริษัทสมาชิกได้ที่หน้ารายชื่อสมาชิก
เมื่อคำสั่งซื้อขายผ่านเข้ามาในระบบซื้อขายของตลาด TFEX ระบบฯจะตรวจสอบว่าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่กับคำสั่งด้านตรงข้ามได้ทันทีหรือไม่ ถ้าคำสั่งนั้นสามารถจับคู่ได้ทันที ระบบก็จะทำการจับคู่ให้ แต่ถ้าคำสั่งนั้นไม่สามารถจับคู่ได้ ระบบจะจัดเรียงคำสั่งซื้อขายนั้นตามหลักการ Price then Time Priority ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับตลาดหุ้น
ไม่จำเป็น ถ้าผู้ลงทุนไม่อยากมีภาระผูกพันแล้ว ก็สามารถล้างภาระผูกพันให้หมดไปได้ โดยทำรายการที่มีสถานะตรงกันข้ามในจำนวนสัญญาที่เท่ากัน (Offset Position) เช่น กรณีเปิดสถาน (Open) Long Futures จำนวน 2 สัญญา หากต้องการล้างภาระผูกพันให้ทำการ ปิดสถานะโดย (Close) Short Futures จำนวน 2 สัญญา เมื่อสัญญาได้รับการจับคู่ ท่านจะไม่มีสถานะคงค้างในระบบ
จริง เพราะฟิวเจอร์ส เป็นสัญญาฯ ระหว่างผู้ซื้อ “Long Position” กับผู้ขาย “Short Position” ที่ตกลงจะซื้อจะขายสินค้าอ้างอิง โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบกันในอนาคต ดังนั้นผู้ขายจึงไม่ต้องมีการซื้อสินค้าไว้ก่อน ทำให้สามารถเปิดสถานะขายได้ทันที (ซึ่งต่างจากหุ้นที่ต้องซื้อเพื่อเป็นเจ้าของก่อนการขาย หรือต้องไปยืมหุ้นมาก่อนการขาย)
Combination Order เป็นคำสั่งที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการเปิดสถานะซื้อและขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตั้งแต่ 1 Series ขึ้นไป โดยส่งคำสั่งเพียง 1 ครั้ง ระบบซื้อขายจะทำการจับคู่ทุก Series ที่สั่งซื้อขายพร้อมๆกันไปเลยในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ Series ที่ซื้อกับ Series ที่ขาย ต้องมีเดือนที่ครบกำหนดอายุต่างกัน
Block Trade เป็นบริการของโบรกเกอร์ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการเปิดสถานะซื้อหรือขาย Stock Futures ในปริมาณมาก โดยโบรกเกอร์จะเข้าเป็นคู่สัญญาฝั่งตรงข้ามให้กับลูกค้า แล้วบันทึกรายการซื้อขายแบบ Put Through เข้ามาในตลาด TFEX จึงทำให้ผู้ลงทุนไม่ต้องกังวลเรื่องของสภาพคล่องทั้งการเข้าซื้อและขายคืน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานด้านการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นการซื้อขายรายใหญ่ (Block Trade Transaction) ได้ที่หน้าประกาศและแนวทางปฏิบัติ)
ในกรณีที่สภาวะการซื้อขายมีความผันผวนรุนแรง ราคาหลักทรัพย์โดยรวมเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงมาก เพื่อให้นักลงทุนมีเวลาในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างครบถ้วน TFEX จะมีมาตรการให้หยุดทำการซื้อขายเป็นการชั่วคราว (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละสินค้าได้ที่หน้าสินค้าใน TFEX)
TFEX จะหยุดการซื้อขายสินค้าแต่ละประเภทเมื่อราคาซื้อขายเปลี่ยนแปลงถึงระดับที่กำหนดตามลักษณะสัญญา (Contract specification) ของแต่ละสินค้า โดยราคาที่ใช้ในการพิจารณาหยุดการซื้อขาย (Triggering price) จะพิจารณาจากราคาซื้อขายของสัญญาเดือนใกล้ที่สุด (Nearest contract month) หรือสัญญาที่มีสภาพคล่องการซื้อขาย หรือตามที่ TFEX เห็นสมควร ในช่วงเวลาใกล้วันครบอายุของสัญญา เช่น 10 วันทำการก่อนวันซื้อขายวันสุดท้าย TFEX อาจพิจารณาใช้ราคาซื้อขายของสัญญาลำดับถัดไป (2nd Contract month) เป็น Triggering contract series แทนราคาซื้อขายของสัญญา Nearest Contract Month
ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) เป็นผู้ที่ตลาด TFEX แต่งตั้งให้ดูแลสภาพคล่องสำหรับสินค้าบางประเภท โดยจะคอยส่งคำสั่งเสนอซื้อ (Bid) และเสนอขาย (Offer) ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตลาด TFEX กำหนด เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายสินค้าได้ตลอดเวลาทำการ
กรณีหุ้นอ้างอิงมี Corporate Action เช่น การจ่ายเงินปันผลพิเศษ การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้น การให้สิทธิจองซื้อหุ้นใหม่แก่ผู้ถือหุ้นเดิม หรือเหตุการณ์อื่นใดที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของสัญญาฯ ที่ทำให้เกิดการได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์เกิดขึ้น TFEX จะพิจารณาปรับลักษณะของสัญญาฯ หรือกำหนดแนวทางอื่นเพื่อให้ผู้ถือ Stock Futures ไม่ได้รับผลกระทบหรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยการปรับลักษณะของสัญญา Stock Futures ในครั้งแรก จะใช้สัญลักษณ์ X ต่อท้ายชื่อสัญญาเดิม และหากมีการปรับลักษณะของสัญญาอีก ก็จะใช้สัญลักษณ์ Y และ Z สำหรับการปรับในครั้งทีสองและสามตามลำดับ
Clearing & Settlement - คำถามเกี่ยวกับการชำระราคาและการส่งมอบ
ไม่เหมือน โดยผู้ลงทุนสามารถดูค่าธรรมเนียมการซื้อขาย TFEX ซึ่งแบ่งตามแต่ละสินค้าได้จากโบรกเกอร์ที่ท่านเปิดบัญชี
ในกรณีที่ผู้ลงทุนซื้อหรือขายฟิวเจอร์ส และถือไว้จนสัญญาครบกำหนดอายุ สถานะการซื้อขายของผู้ลงทุนจะถูกปิดลงอัตโนมัติ โดยระบบจะคำนวณกำไรขาดทุนโดยใช้ “ราคาที่ใช้ชำระราคาวันสุดท้าย” (Final Settlement Price) ตามที่ได้ระบุไว้ในลักษณะสัญญา
บุคคลทั่วไปจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีบนส่วนต่างราคาซื้อขาย (Capital Gain tax) แต่สำหรับนิติบุคคล จะมีภาระภาษีจากส่วนต่างราคาซื้อขาย โดยในการซื้อขายจะไม่มีการภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่นิติบุคคล จะต้องนำรายได้ในส่วนนี้ไปรวมเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
Margin
Margin in TFEX
แตกต่างกัน เพราะหากพูดถึงมาร์จิ้นในการซื้อขายหลักทรัพย์ จะหมายถึงการกู้ยืมเงินมาซื้อหลักทรัพย์ เช่น ใช้มาร์จิ้น 50% ก็คือมีเงิน 1 แสนบาท กู้เงินมาอีก 1 แสนบาท เพื่อใช้ซื้อหลักทรัพย์มูลค่า 2 แสนบาท แต่มาร์จิ้น (Margin) ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) หมายถึง หลักประกันที่ผู้ลงทุนต้องวางไว้ที่โบรกเกอร์สำหรับการซื้อขาย
เนื่องจากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น เป็นการตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขาย (หรือให้สิทธิซื้อ/ขาย) สินค้าอ้างอิงกันในอนาคต ตามราคาและเงื่อนไขที่ตกลงกันล่วงหน้า แต่ยังไม่มีการจ่ายเงินและส่งมอบสินค้ากันจริง ๆ เหมือนกับการซื้อขายในตลาดส่งมอบทันทีที่เรียกว่าตลาด Spot รวมถึงราคาล่วงหน้าจะมีความสัมพันธ์กับราคา Spot ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามข่าวสารและภาวะตลาด ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะปฏิบัติตามพันธะสัญญา จึงต้องมีการกำหนดให้มีการวางมาร์จิ้น หรือหลักประกันจากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
การซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใน TFEX ผู้ลงทุนจะต้องวางมาร์จิ้นก่อนทำการซื้อหรือขาย ที่เรียกว่า หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ตามระดับที่โบรกเกอร์กำหนด และหลังจากซื้อหรือขายแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องรักษาระดับของมาร์จิ้นไม่ให้ต่ำกว่าหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) ซึ่งระดับของหลักประกันเหล่านี้ โบรกเกอร์จะอ้างอิงจากอัตราที่ บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TCH เป็นผู้กำหนดเพื่อให้สามารถรองรับกับความผันผวนของราคาสินค้าอ้างอิงได้
สินทรัพย์ที่สามารถวางเป็นหลักประกันสำหรับการซื้อขายสินค้าใน TFEX มี 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. สินทรัพย์ที่เป็นเงินสด (Cash Collateral)
  • เงินสดสกุลบาท (THB)
  • เงินสดสกุลต่างประเทศ (USD, EUR, JPY)
2. สินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสด (Non-Cash Collateral) *** เริ่มให้บริการ 23 เม.ย. 61 ***
  • หลักทรัพย์จดทะเบียน และ Non-Leverage ETF ที่อยู่ในศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ยกเว้น Warrant และ Derivatives Warrants โดยในช่วงแรกที่ให้บริการจะเปิดรับเฉพาะหุ้นสามัญที่เป็นสินค้าอ้างอิงของ Stock Futures เท่านั้น
  • พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยที่อยู่ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
บริการ Non-Cash Collateral
เป็นบริการของสำนักหักบัญชี หรือ TCH ที่เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถใช้สินทรัพย์อื่นที่นอกเหนือจากเงินสด เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และหลักทรัพย์ (ช่วงแรกจะจำกัดเฉพาะหุ้นสามัญที่เป็นสินค้าอ้างอิงของ Stock Futures) มาใช้วางเป็นมาร์จิ้นหรือหลักประกันร่วมกับเงินสดได้ (เริ่มให้บริการ 23 เม.ย. 61)
การที่ผู้ลงทุนสามารถนำทรัพย์สินอื่น ๆ มาวางเป็นมาร์จิ้นร่วมกับเงินสดได้นั้น จะช่วยเพิ่มความสะดวกและความคล่องตัวให้แก่ผู้ลงทุนในการบริหารหลักประกันของตนเอง รวมถึงช่วยลดต้นทุนบางส่วนของผู้ลงทุนแทนที่จะต้องเตรียมเงินสดมาใช้เป็นหลักประกันเพียงอย่างเดียวและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
ไม่ใช่ ในระยะแรก จะเปิดรับเฉพาะหุ้นสามัญที่เป็นสินค้าอ้างอิงของ Stock Futures เท่านั้น นอกจากนี้ TCH ยังมีข้อกำหนดอื่น ๆ ด้วย เช่น หลักทรัพย์ที่วางจะต้องไม่ถูกรอนสิทธิ์ รวมถึงไม่รับหลักทรัพย์ประเภท Warrant, Derivatives Warrant และหลักทรัพย์ที่มี Leverage เป็นหลักประกัน
ผู้ลงทุนจะไม่สามารถใช้ Non-Cash Collateral หรือหลักทรัพย์ มาวางเป็นมาร์จิ้นได้ทั้งหมด ต้องมีเงินสดเป็นส่วนหนึ่งของมาร์จิ้นด้วย เพื่อรองรับการคำนวณผลกำไรขาดทุนรายวัน หรือการ Mark-to-Market มูลค่าของหลักประกัน เพราะในการชำระราคา ณ สิ้นวันนั้น ยังจะต้องมีการรับจ่ายเงินส่วนกำไรขาดทุนเป็นเงินสด นอกจากนี้ โบรกเกอร์อาจจะมีข้อกำหนดอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ในการเปิดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใหม่ จะต้องวางหลักประกัน Initial Margin เป็นเงินสดเท่านั้น แต่สามารถนำหลักทรัพย์อื่น ๆ มาคำนวณรวมเพื่อรักษาระดับ Maintenance Margin เป็นต้น
เนื่องจากหลักทรัพย์จะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะตลาด และสินทรัพย์แต่ละชนิดก็มีสภาพคล่องในการเปลี่ยนเป็นเงินสดไม่เท่ากัน ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับความผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ ในช่วงที่ถูกนำมาใช้เป็นมาร์จิ้น ทาง TCH และโบรกเกอร์จะคำนวณมูลค่า Non-Cash Collateral ทุกสิ้นวันทำการ โดยจะมีการหัก Haircut หรือมีการปรับลดมูลค่าตามความเสี่ยงของหลักทรัพย์แต่ละกลุ่มตามอัตราที่ TCH กำหนด
ผู้ลงทุนและโบรกเกอร์ที่วางหุ้นเป็นมาร์จิ้นจะต้องหมั่นตรวจสอบ Corporate Action ของหุ้นที่นำมาวาง และควรเปลี่ยนจากหุ้นนั้น ๆ เป็นเงินสดหรือหุ้นอื่นก่อนจะมี Corporate Action เกิดขึ้น ทั้งนี้ กรณีที่หุ้นนั้นๆ มี Corporate Action ระหว่างที่วางไว้เป็นมาร์จิ้น ทางโบรกเกอร์อาจไม่สามารถส่งต่อสิทธิต่าง ๆ แก่ผู้ลงทุน หรือ อาจจะมีค่าใช้จ่ายและภาษีที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการดังกล่าวได้
ไม่ใช่ TCH จะมีการกำหนดจำนวนหุ้นสูงสุดของแต่ละหลักทรัพย์ที่สามารถนำมาวางเป็นมาร์จิ้นได้ตามสภาพคล่องของหลักทรัพย์แต่ละตัว ในกรณีที่ TCH ประเมินว่าสภาพคล่องของหลักทรัพย์ลดลง TCH อาจกำหนดให้โบรกเกอร์ที่ท่านใช้บริการลดระดับการวางหลักทรัพย์เป็นมาร์จิ้น หากเห็นว่าระดับหลักทรัพย์โดยรวมสูงกว่าที่กำหนดไว้ และโบรกเกอร์ของท่านอาจขอให้ท่านเปลี่ยนหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นแทน
ท่านสามารถสอบถามโบรกเกอร์ที่ท่านใช้บริการว่าโบรกเกอร์ของท่านให้บริการใช้หลักทรัพย์วางเป็นมาร์จิ้นหรือไม่ ตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อกำหนดที่อาจมีรายละเอียดเพิ่มเติมหรือแตกต่างกันไปในแต่ละโบรกเกอร์
Other
ฟิวเจอร์ส (Futures) เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นมาตรฐาน ที่คู่สัญญาคือ “ผู้ซื้อ (Long Position)” กับ “ผู้ขาย (Short Position)” ตกลงราคาซื้อขายสินค้าอ้างอิง ณ ปัจจุบัน โดยมีภาระผูกพันต่อกันที่จะต้องทำการส่งมอบสินค้าอ้างอิงและชำระราคา ณ วันที่สัญญาครบกำหนดอายุในอนาคต
ออปชั่น (Options) เป็นสัญญาซื้อขายสิทธิที่เป็นมาตรฐาน ที่คู่สัญญาคือ “ผู้ขายออปชั่น (Short Position)” ให้สิทธิแก่ “ผู้ซื้อออปชั่น (Long Position)” ในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงในระดับราคาที่กำหนด (Strike Price) ณ วันที่สัญญาครบกำหนดอายุในอนาคต โดยผู้ซื้อจะต้องจ่าย “ค่าพรีเมียม (Premium)” ซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้ขายเพื่อแลกกับการได้รับสิทธิ ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ โดยหากผู้ซื้อเลือกที่จะใช้สิทธิ ผู้ขายก็ต้องยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิตามที่ตกลงกันไว้
ออปชั่นแบ่งเป็น 2 ประเภท
  1. คอลออปชั่น (Call Options) เป็นออปชั่นประเภทที่ให้สิทธิผู้ซื้อคอลออปชั่นในการ “ซื้อสินทรัพย์อ้างอิง” ที่ระบุไว้จากผู้ขาย ตามจำนวน ราคา และภายในช่วงเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ผู้ซื้อจะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ โดยหากเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิ ผู้ซื้อก็จะปล่อยให้สิทธิหมดไปตามอายุของออปชั่น ในทางตรงกันข้าม หากผู้ซื้อเลือกที่จะใช้สิทธิ ผู้ขายคอลออปชั่นก็มีภาระผูกพันที่ต้อง “ขายสินทรัพย์อ้างอิง” ให้แก่ผู้ซื้อสิทธิคอลออปชั่น
  2. พุทออปชั่น (Put Options) เป็นออปชั่นประเภทที่ให้สิทธิผู้ซื้อพุทออปชั่นในการ “ขายสินทรัพย์อ้างอิง” ที่ระบุไว้จากผู้ขาย ตามจำนวน ราคาและภายในช่วงเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ผู้ซื้อจะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ โดยหากเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิ ผู้ซื้อก็จะปล่อยให้สิทธิหมดไปตามอายุของออปชั่น ในทางตรงกันข้าม หากผู้ซื้อเลือกที่จะใช้สิทธิ ผู้ขายพุทออปชั่นก็มีภาระผูกพันที่ต้อง “ซื้อสินทรัพย์อ้างอิง” จากผู้ซื้อสิทธิพุทออปชั่น
ฟิวเจอร์ส เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นมาตรฐานที่ออกโดยตลาด TFEX โดยคำสั่งซื้อขายที่ได้รับการจับคู่ ทั้งผู้ซื้อ (Long Position) และผู้ขาย (Short Position) จะมีภาระผูกพันในการชำระราคาและส่งมอบสินค้าอ้างอิงในจำนวนและวันที่ครบกำหนดอายุ ซึ่งต่างจากหุ้นที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน เมื่อผู้ลงทุนซื้อหุ้น ก็จะมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทนั้นๆ โดยหุ้นไม่มีวันหมดอายุ
ออปชั่น เป็นสัญญาซื้อขายสิทธิที่เป็นมาตรฐานที่ออกโดยตลาด TFEX ที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน ในการซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต ตามจํานวน ราคา และเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญา โดยมีสำนักหักบัญชีเข้ามาทำหน้าที่ค้ำประกันการชำระราคาเพื่อให้คู่สัญญามั่นใจได้ว่าจะได้รับการปฏิบัติตามภาระผูกพันในสัญญาที่ได้ตกลงไว้ ในขณะที่ DW เป็นออปชั่นประเภทหนึ่งที่ซื้อขายบนกระดานหุ้น ซึ่งผู้ออก (Issuer) คือบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. และไม่ได้เป็นผู้ออกหุ้นอ้างอิงเอง แต่ให้สิทธิกับผู้ซื้อ ในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์อ้างอิงในอนาคต ตามจํานวน ราคา และเวลาที่กําหนด (ผู้ลงทุนไม่สามารถเป็นผู้ขายสิทธิได้) โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้ค้ำประกันการใช้สิทธิหรือไม่ได้รับประกันว่าผู้ออกจะปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนั้นผู้ลงทุนจึงต้องพิจารณาความเสี่ยงดังกล่าวด้วย
ท่านสามารถทดลองคำนวณราคาได้ที่หน้าโปรแกรมคำนวณ
ท่านสามารถทดลองส่งคำสั่งซื้อขายด้วยข้อมูลเสมือนจริงได้ที่ Click2Win