TFEX
5 Min Read

วางกลยุทธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงอย่างไร เมื่อตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

by บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด
วางกลยุทธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงอย่างไร เมื่อตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดย บริษัท คลาสสิก โกลด์ ฟิวเจอร์ส จํากัด
 
          ในโลกปัจจุบันที่มีการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารและเงินทุนอย่างเสรี ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนในสินทรัพย์ลงทุน

          ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตราสารทุน, ตราสารหนี้ รวมไปถึงตารสารอนุพันธ์ และการคิดค้นตราสารทางการเงิน ใหม่ๆ จากองค์ความรู้ทางแขนง “วิศวกรรมการเงิน” เช่น Collateralized Debt Obligations (CDO), Credit Default Swaps(CDS) หรือ Mortgage Backed Securities (MBS) ทำให้องค์ความรู้หรือกลุทธ์เดิมๆ อาจไม่มีประสิทธิผล อีกต่อไป

         
อย่างไรก็ตามสินทัรพย์ทุกประเภทในโลกไม่ว่าจะเป็นสินทรพย์ทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible Asset) ราคาหรือมูลค่าต่างๆ ล้วนถูกกำหนดมาจาก “อุปสงค์-อุปทาน” ในตลาดซึ่งถือเป็นกลไกในการกำหนดราคา ดุลยภาพ (ไม่รวมกรณีระบบเศรษบกิจแบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์) ดังนั้น เทคโนโลยีที่เติบโตอย่างก้าว กระโดดทำให้การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารและเงินทุนทำได้ง่ายมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดมีความเป็น ประสิทธิภาพมากขึ้น หมายถึง ราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ลงทุนใดๆ มีความสามารถในการตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น กล่าวคือราคาดุลยภาพของตลาด (Equilibrium) เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วขึ้นจากข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นเพียงชั่วพริบตา รวมไป ถึงกระแสเงินทุนโดยเฉพาะ “สกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลให้การไหลเข้าออกของเงินในระบบไม่ถูกจํากัดโดย รัฐบาลและสามารถสะท้อนดุลยภาพที่แท้จริงได้ดีกว่าแต่ก่อนทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องปรับตัวยกเครื่องกัน ขนานใหญ่

         
ประเด็นที่เราจะแนะนํานักลงทุนก็คือ การวางกลยุทธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการตอบสนองของตลาดที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็วและทำให้การบริหารความเสี่ยงมีความจําเป็นมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยต้องยอมรับว่านักลงทุน ไม่สามารถทำกำไรได้อย่างยั่งยืนในตลาดด้วยกลยุทธ์เดิมๆ และมีความจําเป็นที่จะต้องพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้ สามารถเข้าใจกลไกของตลาดรูปแบบใหม่ๆ (NU-Market Mechanism) และสามารถป้องกันความเสี่ยงได้อย่าง เหมาะสม โดยเราขอยกตัวอย่างการทำกลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงคราวๆ ให้ท่านพอเห็นภาพรวม การป้องกันความ เสี่ยงโดยเฉพาะสินทรัพย์ลงทุนสามารถทำได้ง่ายกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ เช่นที่ดินหรือรถยนต์ (บ้าน, รถยนต์ สามารถบริหารความเสี่ยงด้วยประกันได้เช่นกันซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Option) ในขณะที่สินทรัพย์ทางการเงิน โดยเฉพาะในตลาด Exchange Market ที่ไม่ใช่ OTC ท่านสามารถเลือกป้องกันความเสี่ยงได้ตามปริมาณและ วิธีการที่ท่านต้องการได้ทันที โดยเฉพาะในปัจจุบันง่ายเพียงปลายนิ้ว โดยเราขอยกตัวอย่างเช่นท่าลงทุนใน ETF-SET50 และกลัวว่า SET50 จะร่วงลงท่านสามารถ เปิดสถานะ Short ในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนี SET50 เพื่อ ป้องกันความเสี่ยงได้ หรือแม้กระทั่งท่านลงทุนในหุ้นรายตัวท่านนักลงทุนก็สามารถเปิดสถานะในรูปแบบเดียวกัน ผ่าน Single Stock Futures ได้เช่นเดียวกัน (กรณีต้องการป้องกันความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุนจะมีความยาก ขึ้นโดยต้องหาค่า Beta และพิจารณาการถ่วงมูลค่าของกลุ่มสินทัรพย์ลงทุนของท่าน เพื่อหาปริมาณสัญญาที่ เหมาะสมซึ่งจะไม่กล่าวในที่นี้แต่ก็สามารถทำได้ดีเช่นเดียวกัน)

         
อีกประเด็นหนึ่งก็คือการ “กรอง” ระดับความสำคัญของข้อมูลข่าวสารในตลาดซึ่งมีทั้งข้อมูลที่มีนัยสำคัญสามารถ สร้างผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาหรือเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาดได้ ซึ่งในกรณีนี้นักลงทุนต้องมี ความชํานาญและรู้จักเลือกสรร โดยข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อตลาดสินทรัพย์ลงทุน เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ, หนี้ สาธารณะ, หนี้ครัวเรือน, ดัชนีราคาต่างๆ รวมไปถึงดัชนีทางเศรษฐกิจในทุกระดับทั้งระดับ ประเทศ ภูมิภาคและ ระดับโลก (ทั้งจุลภาค-มหภาค) โดยเราขออธิบายเพิ่มเติมในส่วนของการจัดลําดับความสำคัญของข้อมูลให้นัก ลงทุนสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้ ประการแรกท่านต้องพิจารณาหาข้อมูลที่ ส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ มากที่สุดและเกิดขึ้นเร็วที่สุด เช่นกรณีที่ท่านถือหุ้นบริษัทเครื่องดื่มชนิดหนึ่งซึ่งมี “น้ำตาล” เป็นต้นทุนหลัก และ ในขณะนี้รัฐบาลกำลังพิจาณาจํากัดอุปทานน้ำตาลและอ้อยในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของบริษัทสูงขึ้น ดังนั้นประเด็นนี้ท่านนักลงทุนควรให้ความสำคัญเป็นลําดับแรกเพราะมันกระทบกับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ ท่านลงทุนโดยตรงมากกว่า ราคาน้ำมันดิบที่อาจกระทบกับกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งในความเป็นจริงราคาน้ำมันดิบอาจกระทบ กับกลุ่มพลังงานซึ่งมีมูลค่าถ่วงน้ำหนักในดัชนีตลาดหุ้นไทยสูงและอาจกระทบกับ sentiment การลงทุนในหุ้นของ ท่านด้วย แต่ในกรณีนี้เรากำหนดให้ท่านเห็นภาพง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ (Ceteris Paribus)

         
ดังนั้นเราแนะนําให้ท่านนักลงทุนใน 2 ประการ ได้แก่ 1.ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงประเภทต่างๆ ทั้ง ความเสี่ยงเฉพาะตัวของสินทรัพย์ลงทุนชนิดนั้นๆ วิ่งแตกต่างกันออกไปและความเสี่ยงตามตลาดซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถป้องกันผ่านการบริหารความเสี่ยงทางการเงินด้วยอนุพันธ์ทางการเงินเช่น Future & Option ในดัชนี 2.การพิจารณาระดับนัยสำคัญของข้อมูลในตลาดซึ่งมีระดับความสำคัญไม่เท่ากัน โดยการที่ท่านลำดับความสำคัญของข้อมูลในตลาดผิดพลาดส่งผลให้ท่านนําข้อมูลที่ไม่มีนัยสำคัญไปพิจารณาลงทุนและทำให้ท่านมีแนวโน้มที่จะ ขาดทุนมากกว่ากำไร เหมือนคํากล่าวที่ว่า “Garbage In Garbage Out” หมายถึงถ้าท่านนําปัจจัยนําเข้าที่ไม่มี นัยสำคัญมาวิเคราะห์พิจารณาท่านก็จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่มีนัยสำคัญเช่นกัน

ดูรายละเอียดสินค้าใน TFEX เพิ่มเติมได้ที่ linkout

บทความที่เกี่ยวข้อง