TFEX
5 Min Read

สรุปประเด็นสัมภาษณ์ผู้ชนะการแข่งขันทั้ง 3 ท่าน ในโครงการ TFEX FX Futures Trading Challenge 2022

by TFEX
สรุปประเด็นสัมภาษณ์ผู้ชนะการแข่งขันทั้ง 3 ท่าน ในโครงการ TFEX FX Futures Trading Challenge 2022

TFEX FX Futures Trading Challenge 2022
สรุปประเด็นสัมภาษณ์ผู้ชนะการแข่งขันทั้ง 3 ท่าน
 

          จบไปแล้วสำหรับโครงการ TFEX FX Futures Trading Challenge 2022 ขอยินดีกับผู้ชนะทั้ง 10 ท่านด้วย วันนี้เรามาดูสรุปวิธีการเทรดของผู้ชนะ 3 ลำดับแรกไปด้วยกันกับคุณศิรภพ วนิชนงนภัส, คุณปิยะวัชร์ เตธวัช และคุณภควัทค์ ชีวศุภกร ว่ามีแนวทางกลยุทธ์การเทรดอย่างไร ใช้วิธีการเข้าออกแบบไหน ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ
 

คุณศิรภพ วนิชนงนภัส - Underdog
          ในการแข่งขันเลือกใช้กลยุทธ์ Buy & Hold ด้วยกราฟรายวัน ซึ่งสินค้า USD/JPY ช่วงนั้นมีเทรนด์อย่างชัดเจน อาศัยเข้าด้วยจังหวะ Break ด้วยรูปแบบ Price Pattern แล้ววัดราคาเป้าหมาย หากมองว่าจังหวะยังได้เปรียบอยู่ เทรนด์ยังไม่เสีย ก็ยังสามารถเพิ่ม Position ต่อได้ พยายามเทรดในจังหวะที่เราคิดว่าควรเข้า ส่วนการ Stoploss ถ้าผิดทางยังไงก็พยายามดูให้ Cover ในส่วนค่าคอมฯ ที่เสียไป ถ้าเป็นไปได้
          ส่วนชีวิตจริงในการเทรด ก็จะเข้าออกลักษณะเดียวกัน หากใช้แนวรับแนวต้านแล้วเข้าบริเวณแนวรับ ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่มีทางได้ราคาต่ำสุดอยู่แล้ว ควรมีการตั้งไม้ถัดๆ ไป เผื่อไว้จากการสวิงของตลาดด้วย โดยใช้เครื่องมือ ADX, Slow Stochastic, RSI และ EMA เป็นหลักเพื่อพิจารณา Momentum แนวโน้ม และหาจุดเข้าจุดออก ที่แตกต่างคือ Position ในการเข้าต้องแบ่งตามระดับความเสี่ยง ห้ามเข้าเต็มพอร์ตแบบตอนเทรดด้วยพอร์ตทดลอง โดยใช้ Timeframe Daily ดูเทรนด์ใหญ่ แล้วตัดสินใจด้วย Timeframe 1 ชม. กับ 4 ชม.
          การวางแผนก่อนเทรดเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะจุดตัดขาดทุน เราควรต้องทำตามแผนนั้นให้ได้ อย่าโลภ อย่าไขว้เขว ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ได้ถูกวางแผนไว้แล้ว เพื่อให้เรายังสามารถอยู่ในตลาดได้ต่อไป

 

คุณปิยะวัชร์ เตธวัช - Paul
          ด้วยความที่ทั้ง 3 สินค้า USD/THB, USD/JPY และ EUR/USD มีส่วนประกอบ USD เป็นหลัก เลยนำ Dollar Index มาประกอบการตัดสินใจ ซึ่งช่วงนั้นภาพรวมเป็นขาขึ้น เราก็ควร Bias เทรด Long ฝั่ง Dollar เป็นหลักตามเทรนด์ ซึ่งช่วงเวลาที่เริ่มแข่งขันนั้น USD/THB, USD/JPY ดูชัดเจนและแข็งแรงกว่า ส่วน EUR/USD เป็นเทรนด์ขาลงแต่ราคาเด้งขึ้นมาชน Downtrend Line ค่อนข้างบ่อย ภาพเลยไม่แข็งแรงเท่า USD/THB, USD/JPY จึงเลือกเทรด 2 ตัวแรกที่ชัดเจนกว่า
          USD/THB นั้นได้แบ่ง Position เข้าตั้งแต่วันแรกที่แข่ง พอมีช่วงที่เกิด Rising Sun Pattern เลยใข้เป็นจังหวะเข้าอีกครั้งหนึ่ง ส่วน USD/JPY ช่วงที่เริ่มแข่งราคาค่อนข้างย้ำอยู่ในกรอบ อีกมุมก็เป็นการสะสมกำลังรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเมื่อราคาเบรคแนวต้านทำ High ใหม่ได้จึงเข้า Position Long เพิ่มซึ่งเป็นจังหวะเดียวกันกับที่เข้า USD/THB จนได้ปิด Position ทั้งหมดเมื่อราคาไม่ได้ทำจุดสูงสุดใหม่ เริ่มย่อตาม Downtrend Line ลงมาจึงเป็นจุดตัดสินใจปิด Position
          การเทรดปกติที่ไม่ใช่เพื่อแข่งขัน Position Sizing ที่เข้าจะใช้วิธีคำนวณจากพอร์ตประมาณ 1-2% ต่อครั้ง ว่าจะเสียได้เท่านี้แล้วคิดออกมาเป็นดัชนีว่ากี่จุด เป็นจุดที่เรายอมรับการขาดทุนได้ ทำให้เราเห็นจุด Stoploss ในทุกไม้เสมอ แล้วหากเทรดถูกทางก็จะใช้วิธี Trailing Stop เลื่อนจุด Stop มาอยู่ที่ราคาทุน เพื่อไม่ให้เงินทุนเสียหาย ซึ่งมักจะใช้รูปแบบราคา Candle Stick Pattern ในการเข้าออกเป็นหลัก แล้วใช้ Trend Line ตีแนวรับแนวต้านประกอบ ส่วน Timeframe ที่ใช้จะดูภาพใหญ่ Daily ถึง Monthly ก่อนแล้วใช้ Timeframe ที่เล็กลง 2 ชม. พิจารณาจุดเข้า
          มีข้อเตือนใจให้ผู้ลงทุน อย่าประมาทกับตลาดจริง การแข่งที่ผ่านไปนี้เป็นสิ่งแวดล้อมสมมุติ เป็นการแข่งด้วยพอร์ตจำลอง เลยสามารถใช้ Leverage ได้เต็มที่ ใส่ Position ได้หมดพอร์ต แต่ในการเทรดจริงไม่ควรใช้ Leverage สูง ต้องดูความเสี่ยง เผื่อในความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ และต้องบริหารเงินให้ดี เพื่ออยู่รอดในตลาดให้ได้

คุณภควัทค์ ชีวศุภกร - Anonymous Trader
          ตอนที่แข่งขันเทรดด้วย EUR/USD เป็นหลัก เริ่มแรกจากที่เห็นว่าเทรนด์เป็นขาลง ราคาลงจนถึงแนวรับระดับ Monthly แล้วจึงรอดัก Short เมื่อราคารีบาวน์ขึ้นมาบริเวณใกล้ๆ 1.0000 พอลงมาจริงจนสังเกตเห็นจุดต่ำสุดยกตัวสูงขึ้นไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ เลยปิด Position ออกหมดแล้วกลับหน้าเป็น Long ขึ้นมาอีกรอบซึ่งเป็นรอบใหญ่ บวกกับจำนวน Position ที่เข้าค่อนข้างเยอะ จึงเป็นจุดที่ทำให้ได้กำไรพอสมควร ส่วนวันสุดท้ายมีเข้า Long Position โดยเอากำไรมา Bet เพิ่ม พอถูกทางจึงตั้งเงื่อนไข Stoploss เท่ากับระดับราคาที่เข้าไปในทุกๆ ไม้ เพื่อลดความเสี่ยง แต่เผอิญตลาดสวิงมาโดน Stoploss แต่ก็เป็น Stoploss ที่มีการวางแผน จึงทำให้พอร์ตไม่เสียหาย
          การใช้ Position Size เท่าไรดีนั้นขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้ ซึ่งไม่เท่ากัน เราต้องรู้ว่าหน้าเทรดของเราใช้งานได้จริงใช่ไหม มี Win Rate มากแค่ไหน ซึ่งก็ต้องนำไป Backtest ก่อนเพื่อให้รู้ ถ้าหน้าเทรดนี้โอกาสชนะน้อย เราก็ลดขนาด Position จากปกติลง เกณฑ์หลักที่ใช้ในการเข้าจะใช้ทฤษฎี Dow Theory ว่าราคาทำจุดสูงสุดใหม่ไหม จุดต่ำสุดยกตัวสูงขึ้นรึเปล่า แล้วกรองจังหวะด้วย Stochastic กับ RSI อีกครั้ง โดยพิจารณาภาพใหญ่ Timeframe Daily เพื่อดูเทรนด์ก่อนจะใช้ Timeframe เล็ก 15 นาที, 1 ชม. ในการเข้าเทรด
          และฝากถึงผู้ลงทุนที่เตรียมเข้ามาเทรด ให้เข้าใจตลาด เข้าใจสินค้าก่อนที่จะเข้ามาเทรด เริ่มจากพอร์ตจำลองเพื่อฝึกฝนการทำกำไรก่อน ว่าเราสามารถอยู่รอดในตลาดได้ในระยะยาวไหม
 

รับชม Workshop โครงการย้อนหลังทั้ง 4 ตอนได้ที่ linkout 


บทความที่เกี่ยวข้อง