นักการเงินอันชาญฉลาดมักมองเห็นความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีต่างๆ แล้วซื้อ-ขายตามสิ่งที่ไม่สมบูรณ์นั้น เราเรียกง่ายๆว่า Anomalies หรือ ปรากฏการณ์เหนือทฤษฎี โดยคําว่าทฤษฎี ให้ลองนึกถึงทฤษฎีประสิทธิภาพตลาดที่มองว่าในระยะยาวเราไม่สามารถทำ กำไรที่มากกว่าตลาดได้ เพราะนักลงทุนทุกคนต่างได้รับข่าวสารพร้อมๆกัน และราคาหุ้นได้สะท้อนข้อมูลข่าวสารนั้นแล้ว อันทำให้อาจารย์ Fama ได้รับรางวัลโนเบลไปด้วยแนวคิดนี้
ด้วยความเชื่อของแนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของการลงทุนแนว Passive ที่ถูกคิดค้นโดย John Bogle ผู้ก่อตั้ง Vanguard Fund ขึ้นมา โดยเขามีความเชื่อว่าในระยะยาวการลงทุนด้วยน้ำหนักใกล้เคียงกับตลาด (Passive) จะสามารถชนะการลงทุนด้วยแนวคิดแบบ Active อย่างเช่น ดร.นิเวศ หรือ Warrant Buffett หรือ George Soror โดยคนเหล่านี้กลับมีความเชื่ออีกแบบหนึ่งว่าการทำงานที่ หนักกว่าคนอื่น หาหุ้นที่ราคาต่ำโดยที่คนอื่นไม่เห็น จะสามารถกอบโกยกำไรได้เป็นกอบเป็นกำได้ แต่ผมจะบอกว่า Fama พูดไว้ตั้งนาน แล้วว่าบรรดาคนเหล่า Active ทั้งหลาย มันเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่าฝีมือ โดยชี้ให้เห็นว่าในเชิงสถิติ ในบรรดาที่เริ่มจากเม่าจำนวนมาก มักจะมีเม่าจำนวนหนึ่งซึ่งน้อยมากๆสามารถทำกำไรอย่างต่อเนื่องติดต่อกันได้ เป็นที่มาของผู้ชายชื่อ Warrant Buffett แต่นี่แหละจึงเป็นที่มาของกำไรอย่างเซียนที่มองว่า ทฤษฎีประสิทธิภาพตลาดทุนก็มีจุดอ่อนจำนวนมาก เช่น มองว่าทุกคนได้รับข้อมูล พร้อมกัน หรือนักลงทุนแต่ละคนมีความรู้เท่ากัน ประกอบกับมีแนวคิดว่านักลงทุนมีเหตุมีผล ซึ่งความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ก่อเกิดเป็นคนมัน มาจากอารมณ์กันล้วนๆ เช่นการปลอบใจตัวเองว่า ไม่ขายคือไม่ขาดทุน หรือกำไรนิดหน่อยก็รีบขายซะแล้วเป็นต้น
เกริ่นกันไปซะนานเพื่อให้เห็นภาพ ขอนําเข้ามามวยคู่เอกของวันนี้ ระหว่าง อาจารย์ Jay Ritter มุมแดง เซียนหุ้น IPO กับอาจารย์ Fisher Black มุมน้ำเงิน เซียนผู้ค้นพบสูตร Black-Scholes ต้องขอย้อนไปตั้งแต่ปี 1982 ที่เมือง Kansas city โดยตลาดซื้อขายล่วงหน้า เริ่มมีการซื้อขาย Future ของดัชนีหุ้นที่เรียกว่า Value Line โดยก่อนหน้านั้นก็มีดัชนี Future พระเอกตัวจริงอย่าง S&P500 อยู่แล้ว แต่ความแตกต่างของ Value Line มันมี 2 ข้อดังนี้คือ
1. หุ้นที่อยู่ใน Value Line เป็นหุ้นขนาดเล็ก 1,700 ตัว เพื่อเป็นดัชนีมองภาพหุ้น Growth Stock ซึ่งดัชนีอื่นอย่าง S&P500 จะ เน้นหุ้นขนาดใหญ่และมีเงินปันผลจ่ายมากกว่า หรือเทียบ Value Line เหมือนกับดัชนี SSET ในบ้านเรา
2. อัตราผลตอบแทนของดัชนี Value Line ถูกคํานวณด้วยแนวคิดค่าเฉลี่ยเรขาคณิต ในขณะที่ S&P500 ใช้การคํานวณผลตอบแทน แบบค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ทีนี้เป็นที่มาของอาจารย์ Jay Ritter ที่เห็นช่องทางหาเงินจากจุดอ่อนของข้อที่ 1 โดยนักลงทุนบ้านๆทั่วไปจะคุ้นเคยกับ Future ของ S&P500 และนําแนวคิดเดียวกันมาใช้กับการเล่น Value Line ซึ่งสิ่งที่อาจารย์ Ritter มองเห็นเรียกว่า ปรากฏการณ์เดือนมกราคม (January effect) ซึ่งหุ้นส่วนใหญ่จะตกลงช่วงธันวาคมและกลับมาเพิ่มในเดือนมกราคม โดยผลกระทบในเดือนธันวาคม หุ้นตัวเล็กๆ จะ หล่นร่วงแรงกว่าหุ้นขนาดใหญ่ๆ ซึ่งแกมองว่าถ้าเป็นแบบนี้หุ้นที่อยู่ในดัชนี Value Line ก็ต้องลงมากกว่า ดัชนี S&P500 ล่ะสิ ดังนั้น เมื่อถึงเดือนธันวาคมของทุกปีดัชนี Value line จะมีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริงและจะค่อยๆดีดขึ้นมาใหม่ในเดือนมกราคม ดังนั้นแล้วเล่น มันง่ายๆแบบนี้แหละ ซื้อ Future เดือนธันวาคม และปิด Future เดือนมกราคมของทุกปี ตั้งแต่ปี 1984-1985 กินกำไรแบบเงียบๆจาก นักลงทุนที่ไม่รู้เรื่อง January Effect
แต่ทีนี้ เป็นที่มาของ เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือเซียนยังมีโครตเซียน โดยมุมน้ำเงิน อาจารย์ Fisher Black เห็นโอกาสทำกำไรอีกแบบหนึ่งของ Value Line จากจุดอ่อนข้อที่ 2 ซึ่ง Black หรือผมเองก็ ทราบว่าค่าเฉลี่ยเรขาคณิตนั้นจะต้องน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตเสมอ ใครยังงงต้องรีบไปเปิดหนังสือเรียนตอนมัธยมด่วนเลยครับ ซึ่งความ แตกต่างของแนวคิดเรขากับเลขคณิตนั้นจะแตกต่างกันมากขึ้น ถ้าข้อมูลมีความผันผวนมากขึ้น แต่ที่นี้นักลงทุนทั่วไปที่ไม่รู้ ใช้แนวคิดเลข คณิตมากำหนดราคา Future Value Line ก็ซวยล่ะสิครับ เพราะมันทำให้ราคา Future สูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้นการขาย Short Future ก่อน แล้วค่อยปิดสัญญาเมื่อราคาปรับตัวลงมันเป็นกลยุทธ์ที่ทำกำไรแบบหวานหมูเลยทีเดียว
ทีนี้พอ Fisher Black รู้ถึงกลยุทธ์ตรงนี้แกก็จัดหนัก จัดเต็มวงเงินสิครับ และคู่สัญญาที่สำคัญของแกคือฝ่ายตรงข้าม นั่นคือ Ritter นั่นเอง โดยในตอนนั้นต่างคนต่างไม่รู้ว่ากำลังเล่นอยู่กับใคร ต่างมั่นใจในปรากฏการณ์เหนือทฤษฎี ของตัวเองแบบสุดๆ โดยในปี 1986 Ritter เริ่มขาดทุน แต่แน่นอนแค่นๆ โดยคิดเพียงว่ามันเป็นสิ่งชั่วคราว จนกระทั่งขาดทุนอย่างหนักเมื่อมาเทรดในปี 1987 อีกรอบ และเข่าแทบพับเมื่อมารู้ในปี 1987 ตอนอ่านงานตีพิมพ์ของ Black ออกมาเรื่อง สูตรกำหนดราคาฟิวเจอร์ Value line ที่ถูกต้อง ซึ่งต้อง ใช้การคิดผลตอบแทนแบบเรขาคณิตนั่นเอง
ดูรายละเอียดสินค้าใน TFEX เพิ่มเติมได้ที่