Options Greek คือพารามิเตอร์บ่งชี้ความไว หรือความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา Options เพื่อให้เราทราบถึงมูลค่าที่แท้จริงของ Options ในแต่ละระดับราคาใช้สิทธิ และสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนทั้งเพื่อการเก็งกำไรและใช้ Options ในการป้องกันความเสี่ยง โดย Options Greek ประกอบด้วยค่า Delta, Gamma, Theta, Vega และ Rho เรามาเริ่มทำความรู้จัก Options Greek กันดังนี้
Delta
คือ พารามิเตอร์ที่ใช้วัดความไวของราคา Options ต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าอ้างอิง 1 หน่วย หรือหมายความว่า หากราคาสินค้าอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1 หน่วย ราคา Options จะเปลี่ยนแปลงไปกี่หน่วย หากค่า Delta เป็นบวกหมายถึงมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับสินค้าอ้างอิง แต่ถ้าค่าเป็นลบ หมายถึงมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกัน ซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้พิจารณาประกอบการทำ Hedging ระหว่างสินค้าอ้างอิงและ Options
โดยค่าใกล้ 0 คือมีความสัมพันธ์กันน้อยมาก และค่าใกล้ 1 จะเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับสินค้าอ้างอิง เช่น Delta = 0.1 หมายความว่าหากสินค้าอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1 หน่วย Call Options จะเปลี่ยนแปลงแค่ 0.1 หน่วย หรือหาก Delta = 0.9 หมายความว่าหากสินค้าอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1 หน่วย Call Options จะเปลี่ยนแปลงถึง 0.9 หน่วย
โดยค่าใกล้ 0 คือมีความสัมพันธ์กันน้อยมาก และค่าใกล้ -1 จะเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับสินค้าอ้างอิง เช่น Delta = -0.1 หมายความว่าหากสินค้าอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1 หน่วย Put Options จะเปลี่ยนแปลงแค่ 0.1 หน่วย หรือหาก Delta = -0.9 หมายความว่าหากสินค้าอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1 หน่วย Put Options จะเปลี่ยนแปลงถึง 0.9 หน่วย
ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับ Delta คือ “ราคา Options” และ “ราคาสินค้าอ้างอิง”
มาลองดูว่าค่า Delta จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หากราคาสินค้าอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง
กรณี Call Options ค่า Delta จะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับราคาสินค้าอ้างอิง แต่หากเป็น Put Options ค่า Delta จะมีความสัมพันธ์สวนทางกับราคาสินค้าอ้างอิง
ตัวอย่าง Call Options ให้ดัชนีปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 950 จุด Call Options S50M23C950 มีค่า Delta เท่ากับ 0.5
Gamma
คือ พารามิเตอร์ที่ใช้วัดอัตราเร่งของราคา Options เมื่อเทียบกับราคาสินค้าอ้างอิง ด้วยการวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของ Delta ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ร่วมกับ Delta โดยค่า Gamma จะมีค่าเป็น “บวก” หมายความว่าหากราคาสินค้าอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง ค่า Delta จะเปลี่ยนแปลงในอัตราเร่งมากน้อยตามค่า Gamma เช่น Delta = 0.5 , Gamma = 0.1 หมายความว่าหากสินค้าอ้างอิงเปลี่ยนแปลง 1 หน่วย ค่า Delta จะเปลี่ยนแปลงเป็น 0.6
ซึ่งผู้ลงทุนสามารถนำมาใช้ประกอบเพื่อกำหนดกลยุทธ์ได้ ว่าจะใช้การเทรด Options ในฝั่ง Long หรือ Short โดยหากช่วงราคาใช้สิทธินั้นค่า Gamma มีค่าบวกมาก ๆ จะบ่งบอกถึงมีความผันผวนสูง เหมาะกับการลงทุนฝั่ง Long Options ในทางตรงกันข้ามหากช่วงราคาใช้สิทธ์นั้นมีค่า Gamma “บวกเล็กน้อย” จะบ่งบอกว่ามีความผันผวนต่ำ กลยุทธ์หลักอาจจะอยู่ในฝั่ง Short Options
ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับ Gamma คือ “Delta” และ “ราคาสินค้าอ้างอิง”
มาลองดูว่าค่า Gamma จะเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อค่า Delta อย่างไร หากราคาสินค้าอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง
ทั้ง Call Options และ Put Options ค่า Gamma จะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับราคาสินค้าอ้างอิง
ตัวอย่าง Call Options ให้ดัชนีปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 950 จุด Call Options S50M23C950 มีค่า Delta เท่ากับ 0.5 และค่า Gamma เท่ากับ 0.0149
Vega
คือ พารามิเตอร์ที่วัดความไวในการเปลี่ยนแปลงของราคา Options เทียบกับความผันผวน 1% ของ Implied Volatility (IV) เช่น Vega = 0.2 หมายความว่า เมื่อ Implied Volatility เปลี่ยนแปลงไป 1% จะทำให้ราคา Options เปลี่ยนแปลง 0.2 หน่วย โดยผู้ลงทุนอาจจะใช้ Implied Volatility (IV) เป็นตัวแทนของความผันผวน การที่ค่า Vega มีค่ามากหรือน้อย สะท้อนว่าความผันผวนจะมีผลต่อราคามากหรือน้อยนั่นเอง
ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับ Vega คือ “ราคา Options” และ “ความผันผวน”
มาลองดูว่าค่า Vega จะเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อราคา Options อย่างไร หากราคาสินค้าอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลง
ทั้ง Call Options และ Put Options ค่า Vega จะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับราคาสินค้าอ้างอิง
ตัวอย่าง Call Options ให้ดัชนีปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 950 จุด Call Options S50M23C950 มีราคาเท่ากับ 10 จุด และค่า Vega เท่ากับ 0.7926 โดยที่ Implied Volatility คงที่ 15%
Theta
คือ พารามิเตอร์ที่บอกความไวในการเปลี่ยนแปลงราคา Options เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ลดลง 1 วันของสัญญา Options (Time Decay) โดยเครื่องหมาย ลบ หรือ บวก จะสะท้อนให้เห็นว่าราคา Options จะลดลงหรือเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 1 วัน
ขณะที่ตัวเลขของค่า Theta จะบอกถึงระดับการเปลี่ยนแปลงของราคา ตัวเลขยิ่งมากยิ่งเปลี่ยนแปลงมาก ตัวเลขยิ่งน้อยยิ่งเปลี่ยนแปลงน้อย
ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับ Theta คือ “ราคา Options” และ “ระยะเวลาที่เหลือของสัญญา”
มาลองดูว่าค่า Theta จะเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อราคา Options อย่างไร หากระยะเวลาที่เหลือของสัญญามีการเปลี่ยนแปลง
ทั้ง Call Options และ Put Options ค่า Theta จะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับราคาสินค้าอ้างอิง
ตัวอย่าง Call Options ให้ดัชนีปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 950 จุด Call Options S50M23C950 ที่เหลือระยะเวลา 15 วัน ก่อนหมดอายุสัญญา มีราคาเท่ากับ 10 จุด และค่า Theta เท่ากับ -0.3322
Implied Volatility (IV)
คือ พารามิเตอร์ที่บอกถึงค่าความผันผวนคาดการณ์ของสินค้าอ้างอิง ใช้เปรียบเทียบว่าราคา Options ที่ซื้อขายกันอยู่นั้นราคาถูกหรือแพงเมื่อเทียบกับระดับราคาใช้สิทธิอื่น เช่น หากค่า Implied Volatility ของ Options ระดับราคาใช้สิทธิที่ 925 จุด ต่ำกว่าระดับราคาใช้สิทธิที่ 950 จุด แสดงว่าราคาของ Options ตัวนี้ถูกกว่า Options ระดับราคาใช้สิทธิที่ 950 จุด ในช่วงเวลาขณะนั้น
ทั้งนี้การนำ Options Greeks มาใช้งานจริง อาจพิจารณาโดยนำค่า Delta และ Implied Volatility มาใช้งานเป็นหลักก่อน ซึ่งสามารถดูได้จากหน้า Options Calculator
ตัวอย่างการใช้งาน Options Greek
ให้สินค้าอ้างอิงหรือดัชนีปัจจุบันอยู่ที่ 902 จุด, มีระยะเวลาเหลือ 90 วัน
Call Options ระดับราคาใช้สิทธิที่อยู่ใกล้ดัชนีปัจจุบันที่สุด (At-The-Money) คือ S50U23C900 ราคา 24.70 จุด
Delta = 0.5155, Gamma = 0.0064, Vega = 1.8124, Theta = (-0.1185) และค่า IV = 13.3850
ที่ดัชนีปัจจุบันหากวันถัดไปปรับตัวขึ้น 5 จุด จาก 902 จุด เป็น 907 จุด (โดยให้ IV คงที่) จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง