14 ธ.ค. 2567 03:04:49
S50Z24
923.4
(-0.83%)
S50H25
918.6
(-0.78%)
S50M25
916.2
(-0.75%)
S50U25
913.7
(-0.73%)
S50G25
922.3
(-0.66%)
ข้อมูลล่าสุด 14 ธ.ค. 2567 03:04:49
TFEX
Gradient
5 Min Read

รู้จัก Sector Index Futures

by TFEX
Sector Index Futures
วิเคราะห์แนวโน้ม เทรดทำกำไรบนดัชนีหมวดอุตสาหกรรม
          Sector Index Futures หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับดัชนีหมวดธุรกิจ เป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญที่อยู่ในกลุ่มหมวดธุรกิจนั้น โดยในตลาด TFEX จะมีให้เลือกลงทุนถึง 5 หมวดธุรกิจ คือ หมวดธนาคาร (BANK) หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) หมวดพลังงาน (ENERG) หมวดพาณิชย์ (COMM) และสุดท้ายหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (FOOD) ซึ่งเป็นกลุ่มหมวดธุรกิจยอดนิยม
ทำความเข้าใจดัชนีราคากลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจเพิ่มเติม  linkout
ลักษณะของสัญญา Sector Index Futures
เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ผู้ซื้อและผู้ขายทำการตกลงซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงดัชนีหมวดธุรกิจ (Sector Index) ในปริมาณ ราคา และวันที่ส่งมอบในอนาคต โดยดัชนีหมวดธุรกิจที่ซื้อขายในตลาด TFEX จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
  • กลุ่มหมวดธุรกิจ ที่ใช้ตัวคูณดัชนี 1,000 บาท (การเคลื่อนไหวของดัชนี 1 จุด มีมูลค่าเท่ากับ 1,000 บาท) ประกอบด้วย หมวดธนาคาร (BANK) และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
  • กลุ่มหมวดธุรกิจ ที่ใช้ตัวคูณดัชนี 10 บาท (การเคลื่อนไหวของดัชนี 1 จุด มีมูลค่าเท่ากับ 10 บาท) ประกอบด้วย หมวดพลังงาน (ENERG) หมวดพาณิชย์ (COMM) และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (FOOD)
Sector Index Futures มีการชำระราคาส่วนต่างกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นด้วยเงินสด (Cash Settlement)
ศึกษาลักษณะสัญญาเพิ่มเติม  linkout
image-sector
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการซื้อขาย
ตัวย่อของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่หมวดธุรกิจจะบอกถึงดัชนีหมวดธุรกิจที่อ้างอิง จะประกอบด้วย
“BANK” คือ ดัชนีหมวดธนาคาร
“ICT” คือ ดัชนีหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
“ENERG” คือ ดัชนีหมวดพลังงาน
“COMM” คือ ดัชนีหมวดพาณิชย์
“FOOD” คือ ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม
ตัวย่อเดือนที่หมดอายุ เช่น H เท่ากับเดือนมีนาคม และตัวเลข 2 ตัวสุดท้าย คือ ปี ค.ศ. ที่หมดอายุ เช่น 2023 ใช้ตัวย่อ 23

image-sector-2
BANKH23 หมายความว่าอ้างอิงดัชนีหมวดธนาคาร (BANK)
ที่หมดอายุเดือนมีนาคม (H) ปี ค.ศ. 2023 (23)

ปัจจัยที่มีผลต่อราคา Sector Index Futures
ด้านปัจจัยที่กระทบต่อราคาฟิวเจอร์ส ประกอบด้วย 4 ตัวแปรสำคัญ
button-checkราคาหุ้นที่อยู่ในหมวดธุรกิจที่อ้างอิง เพราะ Sector Index เป็นสินค้าอ้างอิงกับดัชนีหมวดธุรกิจที่สร้างขึ้นจากราคาหุ้นถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตาม ราคาตลาด (Market Capitalization) การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่อยู่ในหมวดธุรกิจนั้น ๆ จึงมีผลต่อดัชนีหมวดธุรกิจ ขณะที่ปัจจัยต่อราคาหุ้นจะแตกต่างกันไปตามหมวดธุรกิจ แต่มีปัจจัยที่อาจจะกระทบร่วม เช่น สภาวะเศรษฐกิจ การเมือง นโยบายดอกเบี้ย ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ราคาน้ำมัน รวมถึงปัจจัยอ่อนไหวอื่น
button-checkระยะเวลาของสัญญาที่เหลือ โดยมูลค่าตามเวลาที่เหลืออยู่ (Time Value) ของฟิวเจอร์สจะลดลงเรื่อย ๆ จน ​ณ วันหมดอายุฟิวเจอร์สจะมีราคาเท่ากับสินทรัพย์อ้างอิง
button-checkอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อมูลค่าตามเวลาที่เหลืออยู่ (Time Value) ของสัญญาฟิวเจอร์ส
button-checkเงินปันผล เนื่องจากการถือสัญญาฟิวเจอร์สจะไม่ได้รับเงินปันผลเหมือนการถือหุ้นโดยตรง หากบริษัทที่อยู่ในดัชนี Sector Index มีการประกาศจ่ายเงินปันผลออกมาจะยิ่งทำให้ดัชนี Sector Index ห่างจากราคาฟิวเจอร์สมากขึ้น
คำนวณราคาฟิวเจอร์สตามแบบ Cost of Carry Model ได้ที่นี่  linkout
ตัวอย่างการทำกำไร Sector Index Futures
การทำกำไรในตลาดขาขึ้น (Long Futures)
หากผู้ลงทุนคาดการณ์ว่า หมวดธุรกิจที่เลือกลงทุนจะเติบโตได้ดี หรือได้รับผลบวกจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ดัชนีหมวดธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคตให้เปิดสถานะซื้อล่วงหน้า (Long Open) ใน Sector Index Futures ที่ราคาปัจจุบัน ถ้าดัชนีปรับตัวขึ้นในอนาคต แล้วผู้ลงทุนต้องการขายเพื่อปิดสถานะ (Short Close) เมื่อนำส่วนต่างของระดับดัชนีที่ซื้อ มาหักจากระดับดัชนีที่ขาย คูณกับตัวคูณสัญญาจะเท่ากับกำไรที่ผู้ลงทุนได้รับ (ก่อนหักค่าธรรมเนียมซื้อขาย)
sector-1
วิธีการคำนวณ
เปิดสถานะ (Long Open) ใน Sector Index Futures กลุ่ม BANK ที่ 400 จุด
ดัชนีกลุ่ม BANK ขึ้นมาที่ระดับ 405 จุด ขายเพื่อ
 ปิดสถานะ (Short Close)
กำไร = (405 – 400) x 1,000 = + 5,000 บาท

การทำกำไรในตลาดขาลง (Short Futures)
แต่ถ้าหากผู้ลงทุนคาดการณ์ว่าหมวดธุรกิจที่เลือกลงทุนอาจจะมีแนวโน้มไม่ดี หรือผลประกอบการของบริษัทที่อยู่ในแต่ละหมวดธุรกิจน่าจะมีผลประกอบการต่ำกว่าที่คาด ซึ่งอาจจะทำให้ Sector Index ปรับตัวลดลงในอนาคต ให้เปิดสถานะขายล่วงหน้า (Short Open) ใน Sector Index Futures ที่ราคาปัจจุบัน ถ้าดัชนีปรับตัวลงในอนาคต แล้วผู้ลงทุนต้องการปิดสถานะโดยทำการซื้อเพื่อปิดสถานะ (Long Close) ในระดับดัชนีที่ต่ำกว่าได้ นำส่วนต่างระดับดัชนีที่ซื้อขายนี้คูณกับตัวคูณสัญญาจะเท่ากับกำไรที่ผู้ลงทุนได้รับ
sector-2
วิธีการคำนวณ
เปิดสถานะ (Short Open) Sector Index Futures กลุ่ม FOOD ที่ 12,750 จุด
ดัชนีกลุ่ม FOOD ลงมาที่ระดับ 12,700 จุด ซื้อเพื่อ
 ปิดสถานะ (Long Close)
กำไร = (12,750 –12,700) x 10 = + 500 บาท
ในทางตรงกันข้างถ้าทิศทางตลาดไม่ได้เป็นไปตามที่ผู้ลงทุนคาดการณ์ ก็จะได้รับผลขาดทุน
สรุปจุดเด่นของ Sector Index Futures
button-checkป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตหุ้นตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เรามีในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง
button-checkเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสทำกำไรได้ในช่วงที่ตลาดผันผวน
button-checkชำระราคา โดยคำนวณกำไรขาดทุนเป็นเงินสด
button-checkใช้เงินลงทุนน้อยเงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 10% ของมูลค่าสัญญา
button-checkวิเคราะห์ง่าย โดยวิเคราะห์จากภาพรวมตลาดหุ้นไทย
img-sector-3
img-sector-3

แท็กที่เกี่ยวข้อง: แนวคิดเทรด Sector Futures Sector Index Futures
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้แก่ท่าน รวมทั้งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  นโยบายการใช้คุกกี้

My Quote