สงสัยไหมค่า Premium ใน Options มาจากไหน มากไปหรือน้อยไป วัดจากอะไร ?
สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่เคยลงทุนในสัญญา SET50 Index Options ผมขออธิบายเบื้องต้นเพื่อทำความเข้าใจว่าค่า premium ในสัญญา Options คืออะไร ถ้าจะกล่าวให้ง่ายสั้นกระชับ ค่า Premium คือ “ราคาของสิทธิ Options ที่ฝั่งผู้ซื้อ (Long) ซึ่งเป็นผู้ได้ประโยชน์จากสัญญา Options จะต้องชำระให้กับฝั่งผู้ขาย (Short) ซึ่งมีภาระผูกพันในการทำตามสัญญา Options”
ซึ่งหมายรวมทั้งสัญญา Options ที่ให้สิทธิในการซื้อ (Call Options) และสัญญา Options ที่ให้สิทธิในการขาย (Put Options)
โดยค่า Premium หรือราคานั้นจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความห่างของดัชนีปัจจุบันกับราคาใช้สิทธิ (Strike Price), อายุของสัญญาที่เหลือ, อัตราดอกเบี้ย, อัตราเงินปันผล และความผันผวนของดัชนี SET50 เพื่อให้เข้าใจง่ายอาจจะขอยกตัวอย่างฝั่ง Call Options ตามนี้
ในการคำนวณ Premium Call Options ที่อ้างอิงดัชนี SET50 จะมี 6 ตัวแปรดังนี้ (ตามวิธี Black-Scholes options pricing model)
1. ดัชนีปัจจุบันของ SET50
2. ราคาใช้สิทธิ (Strike Price)
ในฝั่ง Call Options ผู้ซื้อสัญญาจะได้สิทธิในกรณีที่ดัชนี SET50 สูงกว่าราคาใช้สิทธิ หรืออีกนัยหนึ่งคือถ้าดัชนีปัจจุบันเกินกว่าราคาใช้สิทธิ (In the money) ผู้ซื้อจะได้ประโยชน์ ดังนั้นค่า Premium ก็จะสูงแต่หากดัชนี SET50 อยู่ต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ (Out of the money) ผู้ซื้อจะไม่ได้ประโยชน์ ค่า Premium ก็จะต่ำลง
สรุป
ดัชนี SET50 ปรับตัวขึ้นจะทำให้ค่า Premium สูงขึ้น (เฉพาะCall Options)
Options ตัวที่มีราคาใช้สิทธิสูงจะมีค่า Premium ต่ำลง (เฉพาะCall Options)
โดยการประเมินจากดัชนีปัจจุบันของ SET50 และราคาใช้สิทธิ (Strike Price) ส่วนนี้เราจะเรียกว่า Intrinsic Value หรือมูลค่าที่แท้จริง
3. ระยะเวลาก่อนครบกำหนดสัญญา
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาก่อนครบกำหนดสัญญากับค่าPremium จะเหมือนกันทั้งใน Call Options และ Put Options ถ้ามีระยะเวลาสั้นลงค่า Premium จะลดลง หรืออาจจะหมายความว่าใน Options ที่มีราคาใช้สิทธิเท่ากัน Options ที่อายุยาวกว่าจะมีค่า Premium สูงกว่า Options ที่มีอายุสัญญาสั้นกว่า (เพราะผู้ถือได้ประโยชน์ถ้ามีอายุสัญญายาวจะทำให้ผู้ถือมีโอกาสได้ใช้สิทธินานขึ้น หรือมีโอกาสนานขึ้นที่จะรอดัชนีขึ้นเกินกว่าราคาใช้สิทธิ)
โดยรวมส่วนนี้เราเรียกว่า Time Value หรือมูลค่าที่เกิดจากระยะเวลาที่เหลือของสัญญาซึ่งมีอีก 3 ตัวแปรที่จะมีส่วนในการกำหนดค่า Premium
4. อัตราดอกเบี้ย
สำหรับอัตราดอกเบี้ยจะมีผลต่อต้นทุนตามอายุสัญญา ถ้าอัตราดอกเบี้ยยิ่งสูงค่า Premium ใน Call Options ก็จะยิ่งสูงขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำลงค่า Premium ใน Call Options ก็จะต่ำลงเช่นกัน
5. อัตราเงินปันผล
สำหรับอัตราเงินปันผลจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ย เพราะในการลงทุนสัญญา Options ผู้ซื้อจะยังไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์จนกว่าจะใช้สิทธิ ดังนั้นถ้ามีอัตราเงินปันผลสูงผู้ซื้อจะเสียโอกาสในการที่จะได้รับผลตอบแทนในสินทรัพย์ ดังนั้นจึงสรุปความสัมพันธ์ได้ดังนี้ ถ้าอัตราเงินปันผลของ 50 บริษัทที่อยู่ในดัชนี SET50 เพิ่มสูงขึ้น ค่า Premium ใน Call Options จะต่ำลงและในกรณีที่อัตราเงินปันผลต่ำลง ค่า Premium ใน Call Options ก็จะสูงขึ้น
6. ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์อ้างอิง
หรือหมายถึงความผันผวนของดัชนี SET50 นั่นเองยิ่ง SET50 มีความผันผวนมากเท่าไรค่า Premium ของ Options ก็จะมีความผันผวนตามด้วย
ทั้งนี้การซื้อขาย Options เกิดจาก Demand และ Supply ของผู้ลงทุน ดังนั้นราคาอาจจะไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีทุกครั้ง แต่ก็สามารถใช้ราคาทฤษฎีนี้เป็นราคาอ้างอิงเช็คค่า Premium ของ Options ว่ามีราคาซื้อขายที่ถูกหรือแพงได้พอสมควรในระดับหนึ่ง
ดูรายละเอียดสินค้าใน SET50 Options เพิ่มเติมได้ที่
คอร์ดเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Options ฟรี!
หลักสูตร SET50 Options ฉบับมือใหม่ทั้งหมดได้ที่
หลักสูตร Options First Class ได้ที่
Options Workshop From Home ได้ที่