ตอนที่#1 รู้จัก Options
“การซื้อ Options บางครั้งก็คล้ายกับการซื้อลอตเตอรี่ เราจ่ายตังค์เลือกซื้อเลขที่สนใจ หากเลขนั้นถูก ก็เอาไปขึ้นรางวัลได้”
ในการเทรด Options มันมีมากกว่าแค่เก็งเลขที่จะออก แต่เราสามารถเลือกโอกาสในการที่จะถูกรางวัลได้ นอกจากนี้ หากผิดทาง ก็ยังขายเอาเงินต้นคืนมาบางส่วนได้ด้วย
สำหรับคนที่สนใจ Options แต่ยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันดีกว่าว่า คนเทรดออปชั่นเค้ามีวิธีคิดอย่างไร ใช้ข้อมูลอะไรบนหน้าจอเทรดบ้าง และมีคำศัพท์ไหนที่ควรรู้ก่อนเริ่มเทรด
Symbol = ชื่อเรียกสัญญา เช่น S50M21C975 = สัญญาออปชั่นที่อ้างอิงดัชนี SET50 หมดอายุ M21 (เดือนมิถุนายน ปี 2021) เป็นประเภทสิทธิซื้อที่ราคาใช้สิทธิ 975
Call Options = สิทธิในการซื้อ (หากมองว่าดัชนีหุ้นจะขึ้น ให้ซื้อ Call Options)
Put Options = สิทธิในการขาย (หากมองว่าดัชนีหุ้นจะลง ให้ซื้อ Put Options)
Strike Price = ราคาใช้สิทธิของ Options (เปรียบเหมือนเลขล๊อตเตอรี่ ยิ่งดัชนีเลขสูงๆ โอกาสที่ดัชนีจะไปถึง ยิ่งมีโอกาสน้อย)
Theo.P = Theoretical Price หรือราคาทางทฤษฏี ซึ่งถ้าเป็นออปชั่นจะคำนวนมาจากสูตร Black-Scholes Model
Diff = Difference หรือส่วนต่างราคาออปชั่นทางทฤษฏี – ราคาออปชั่นที่ซื้อขายล่าสุดในตลาด
Delta = ใช้ดูว่าราคา Options จะขยับขึ้น/ลงกี่จุด เมื่อเทียบกับการขยับตัวของดัชนี SET50 ที่ 1 จุด
Historical Volatility = ค่าความผันผวนในอดีต ใช้ดูว่าดัชนีในอดีตเฉลี่ยผันผวนกี่จุดต่อวัน
Implied Volatility = ค่าความผันผวนที่นักลงทุนคาดหวัง ใช้ดูว่าราคาออปชั่นตอนนี้ตลาดให้ความผันผวนเท่าไหร่ ยิ่งความผันผวนสูง จะทำให้ออปชั่นมีราคาแพง
Moneyness = ใช้บอกสถานะของออปชั่น
-ITM = In the Money = ออปชั่นที่ถืออยู่ ราคาใช้สิทธิดีกว่าราคาตลาด (ใช้สิทธิได้ หรือมีกำไร)
-ATM = At the Money = ออปชั่นที่ถืออยู่ ราคาใช้สิทธิใกล้เคียงกับราคาตลาด
-OTM = Out of the Money = ออปชั่นที่ถือ ราคาใช้สิทธิเสียเปรียบเมื่อเทียบกับราคาตลาด (ใช้สิทธิไม่ได้)
Margin = เงินหลักประกันที่นักลงทุนต้องวางไว้ที่โบรกเกอร์ก่อนการซื้อขาย
- IM (Initial Margin) : หลักประกันเริ่มต้น
- MM (Maintenance Margin) : หลักประกันรักษาสภาพ
- FM (Force Close Margin ) : หลักประกันบังคับปิดสถานะ
Payoff Chart = การวาดภาพแสดงกำไรขาดทุนเมื่อเปิดสถานะออปชั่น
Max Profit/ Max Loss = กำไรสูงสุด/ขาดทุนสูงสุด
Total Cost = ต้นทุนในการเปิดสถานะ
Total Margin = เงินหลักประกันรวมทั้งหมด
Options Paid/ Receive = สถานะของผู้เปิดสถานะออปชั่นว่าสุทธิเป็นผู้รับเงินหรือจ่ายเงิน
Break Even = จุดคุ้มทุน จุดที่เปลี่ยนจากกำไรเป็นขาดทุน หรือจุดที่ขาดทุนเป็นกำไร
Current EE = Current Excess Equity หรือเงินที่เหลือหลังจากหักหลักประกันเริ่มต้น สามารถเอาไปเปิดสถานะลงทุนใหม่ได้
LC = Long Call
LP = Long Put
SC = Short Call
SP = Short Put
---------------------------------------------------------------
แนวคิด 3V พิชิต Options
1. View ดูทิศทางตลาด
- ช่วงตลาดขาขึ้น Bullish : ซื้อ Call Options มีสิทธิกำไรไม่จำกัด และขาดทุนไม่เกินค่า Premium หากดูทิศทางตลาดถูก
- ช่วงตลาด Bearish : ซื้อ Put Options จะขาดทุนไม่เกินค่า Premium ที่จ่ายไป มีสิทธิกำไรไม่จำกัดหากถูกทาง
- ช่วงตลาด Sideway : ขาย Options ที่แม้กำไรจะถูกจำกัดไว้แค่ค่า Premium แต่หากดูทิศทางถูกก็จะช่วยสร้างกระแสเงินสดได้
2. Volatility คาดการณ์ความผันผวนที่จะเกิดขึ้น
หากดัชนีแกว่งกรอบแคบ แปลว่าความผันผวนน้อย หรือความผันผวนกำลังลดลง โอกาสที่ราคาออปชั่นจะวิ่งไปเร็วๆ แรงๆ ก็น้อยตามไปด้วย การซื้อออปชั่นในช่วงนี้อาจไม่ได้กำไร กลับกันหากดัชนีผันผวนสูง ราคาออปชั่นก็มีโอกาสวิ่งเร็ว ช่วงที่ความผันผวนสูง ราคาออปชั่นก็จะสูงตามไปด้วย โดยเราสามารถดูค่าความผันผวนในอดีตเทียบค่าความผันผวนในปัจจุบันได้จาก Historical Volatiliy และ Implied Volatility
3. Time Value เลือกออปชั่นให้เหมาะกับระยะเวลาที่ต้องการลงทุน
หากเรามองว่าดัชนีจะวิ่งขึ้นไป 100 จุด ใน 3 เดือนข้างหน้า แต่ดันซื้อออปชั่นที่กำลังจะหมดอายุในอีก 1 เดือน แบบนี้จะทำกำไรตามเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างไร นอกจากนี้ การซื้อออปชั้น นักลงทุนต้องจ่ายค่า Premium เสียก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Premium จะประกอบไปด้วย มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และ มูลค่าตามระยะเวลา (Time Value)
Option Value (Premium) = Intrinsic Value + Time Value
มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)
Options ที่มีสถานะ In the Money จะมีมูลค่าที่แท้จริง > 0
Options ที่มีสถานะ At the Money จะมีมูลค่าที่แท้จริงใกล้เคียง 0
Options ที่มีสถานะ Out of the Money จะมีมูลค่าที่แท้จริง = 0
มูลค่าตามระยะเวลา (Time Value)
Options ที่มีอายุคงเหลือมากจะมี Time Value มากกว่า Options ที่มีอายุคงเหลือน้อย เพราะอายุคงเหลือที่มากกว่า แสดงถึงโอกาสที่เพิ่มขึ้นในการทำกำไรจาก Options
เมื่อ Intrinsic Value = 0 หมายความว่า Options ที่ซื้อมานั้นไม่มีมูลค่าในตัวเองเลย ที่มีอยู่คือเป็นมูลค่า Time Value ทั้งหมด ดังนั้นก่อนจะเลือก Options มาสร้างโอกาสทำกำไร คุณต้องแยกมูลค่าทั้งสองให้ถูกว่าส่วนไหนคือมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) และส่วนไหนคือมูลค่าตามระยะเวลา (Time Value)
ทั้งหมดนี้ก็คือ หลัก 3V พิชิต Options สำหรับมือใหม่ที่อยากสร้างโอกาสทำกำไรด้วย Options ทั้งหมดนี้เป็นการปูพื้นฐานเพื่อเตรียมพร้อมสร้างกลยุทธ์ใน Episode ต่อไป
เริ่มทบทวนดู VDO ซีรี่ส์ SET50 Options ฉบับมือใหม่ ตอนที่ 1 - รู้จัก Options ได้ที่
ดูรายละเอียดสินค้าใน SET50 Options เพิ่มเติมได้ที่
คอร์ดเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Options ฟรี!
หลักสูตร SET50 Options ฉบับมือใหม่ทั้งหมดได้ที่
หลักสูตร Options First Class ได้ที่
Options Workshop From Home ได้ที่