ตอนที่ #3 เงื่อนไขการใช้ Long Call
การที่นักลงทุนมือใหม่หลายคนเริ่มเทรด Options จาก ฝั่ง Long ก่อน ก็เพราะว่าเมื่อเทียบกับฝั่ง Short แล้วฝั่ง Long มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า ที่เรียกได้ว่า “จำกัดขาดทุนแต่ไม่จำกัดกำไร” โดยเลือกโอกาสถูกมากน้อยและราคาที่จ่ายออกไปได้ตาม Strike Price บนกระดานเทรด ซึ่งหากผิดทางก็จะขาดทุนเท่ากับค่าพรีเมี่ยมที่ได้จ่ายออกไป และ Long Call ก็ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในวิธีเก็งกำไรยอดฮิต ที่นักลงทุนเลือกใช้กันในช่วงตลาดขาขึ้น
จับจังหวะ Long Call ด้วยความผันผวนและทิศทางตลาด
1. ความผันผวน (Volatility)
ให้ดูการแกว่งตัวของ Volatility ว่าคุ้มค่ากับ Premium ที่จะต้องจ่ายออกไปหรือไม่ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่าง Volatility กับ Long Call Options อยู่ในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นกรณีที่ตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้น ถ้า Volatility ยิ่งเยอะ ฝั่ง Long Call ก็ยิ่งได้เปรียบ แต่หากเป็นช่วงที่ Volatility ต่ำก็อาจไม่ใช่จังหวะเข้าที่ได้เปรียบเท่าไหร่ และยิ่งหากแนวโน้มเริ่มเปลี่ยนเป็นขาลงด้วยแล้ว การรอให้ผ่านระยะพักตัวให้มี Volatility กลับมา บวกกับแนวโน้มกลับเป็นขาขึ้นอีกครั้งก็จะน่าสนใจกว่า ถึงจะค่อยเข้า Long Call เพราะมีทั้งสัญญาณแนวโน้มขาขึ้นและได้เปรียบในการเข้า Position
2. ทิศทางตลาด (Trend)
หากตลาดยังไม่มีแนวโน้มขาขึ้น การเข้า Long Call ก็อาจจะไม่เหมาะนัก เพราะต้องคำถึงเรื่องต้นทุนการถืออย่าง Time Decay ด้วย ซึ่งหากเข้าผิดจังหวะในช่วงไม่มีแนวโน้ม มูลค่าของ Options ที่เราซื้อมาจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ และจะยิ่งทำให้เราเสียเปรียบ ส่วนการตัดสินใจเลือก Strike Price ว่าจะซื้อช่วงราคาไหนดีนั้น ให้คำนึงถึงโอกาสถูกรางวัลหรือโอกาสได้ใช้สิทธิประกอบเสมอ อย่าซื้อช่วงราคาที่ต่ำจนเกินไป (Out of the Money) เพราะโอกาสในการถูกจะน้อยมากๆ หรือแทบจะไม่มีโอกาสได้ใช้สิทธิเลย ดังนั้นถ้าจะ Long Call ควรพิจารณาดูก่อนว่าเจอสัญญาณขาขึ้นและเริ่มมีความผันผวนแล้วหรือยัง
การประยุกต์ใช้ Standard Deviation กับ Options
Standard Deviation (SD) คือค่าความผันผวนคล้ายๆ ค่า Implied Volatility
สมมติให้ดัชนี SET50 อยู่ที่ 1,000 จุด ค่า Implied Volatility เฉลี่ยต่อปี = 10%
1 SD จะหมายถึงดัชนีวิ่งอยู่ระหว่าง 900 - 1,100 จุด
2 SD จะหมายถึงดัชนีวิ่งอยู่ระหว่าง 800 - 1,200 จุด
ซึ่งค่าเหล่านี้จะทำให้เรามองกรอบการวิ่งของตลาดแต่ละช่วงได้ชัดมากขึ้น รวมถึงสามารถนำไปวางกลยุทธ์และมองกรอบการลงทุนของตัวเองต่อได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากตลาดตอนนี้ Implied Volatility = 5% น้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ แปลว่าตอนนี้ราคาวิ่งแคบมาก ในอนาคตค่าความผันผวนนี้ควรจะต้องขึ้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติที่ 10% ซึ่งอาจจะกำลังรอปัจจัยบวกหรือลบหนักๆ เข้ามาประกอบเพื่อให้ราคาวิ่งจนค่าความผันผวนกลับมาที่เดิม เราก็อาศัยช่วงจังหวะเหล่านี้พิจารณาประกอบในการเข้า Position หากตลาดตอนนี้มีความผันผวนวิ่งในระดับ 1 SD ลงมาแตะกรอบล่างโดยยังไม่หลุดแนวโน้มขาขึ้น ก็อาจเป็นโอกาสเข้าซื้อที่ดี ซึ่งจะสามารถเลือก Strike Price ที่ต่ำลงและยังมีมูลค่าในตัวด้วย
โดยในภาวะปกติทั่วไปนั้น ดัชนีอาจจะวิ่งอยู่ในแค่ระดับ 1 SD แต่อย่างไรเราก็ต้องวางแผนเผื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน เช่น ความผันผวนขึ้นไปถึง 2 SD หรือ 3 SD ซึ่งมักจะเกิดขึ้นตาม Cycle สำหรับการลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว ดังนั้น เราควรต้องคุม Risk Management ให้ครอบคลุมระดับดังกล่าวด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะเสียหายหนักแม้ผิดพลาดแค่ครั้งเดียวก็เป็นได้
สรุปสุดท้าย หากดัชนียังมีความผันผวนค่อนข้างแคบและต่ำ การเข้าซื้อฝั่ง Long Call ก็ยังมีความเสียเปรียบอยู่ ยิ่งตลาดอยู่ในช่วง Sideway เราจะถูก Time Decay ลดมูลค่า Options ลงเรื่อยๆ ซึ่งก่อนที่เราจะ Action เข้า Order แบบไหนนั้น เราสามารถ Simulate คำนวณราคาตามทฤษฎี และดูกราฟผลตอบแทน (Payoff) เพื่อมองดู Reward ที่จะได้รับก่อนได้ ผ่านโปรแกรม Streaming จะได้เห็นภาพมากขึ้นว่าคุ้มค่าไหมในการซื้อแต่ละครั้ง
เริ่มทบทวนดู VDO Series Options ตอนที่ #3 เงื่อนไขการใช้ Long Call
ดูรายละเอียดสินค้าใน SET50 Options เพิ่มเติมได้ที่
คอร์ดเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Options ฟรี!
หลักสูตร SET50 Options ฉบับมือใหม่ทั้งหมดได้ที่
หลักสูตร Options First Class ได้ที่
Options Workshop From Home ได้ที่