ตอนที่ #6 เทรด Options ควบคู่กับ Futures
การเทรด Options ควบคู่กับ Futures สามารถป้องกันความเสี่ยงและเก็งกำไรได้อีกด้วย เพราะการเทรด Options ก็เหมือนกับการซื้อขายประกัน คนหนึ่งซื้อประกันโดยการจ่ายค่า Premium ส่วนอีกคนที่ขายประกันก็จะรับเงินค่า Premium มาไว้ก่อน ขณะที่การเทรด Futures การเปิดสถานะ Long หรือ Short ขาเดียวอาจมีความเสี่ยงพอสมควร ดังนั้นการผสมผสานการเทรด Options ควบคู่ Futures จะทำให้เราสามารถสร้างกลยุทธ์ได้เพิ่มมากขึ้น เหมือนมีประกันเมื่อผิดทาง ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสทำกำไรได้เมื่อถูกทาง ทีนี้เรามาเริ่มต้นดูกลยุทธ์ในรูปแบบอื่นๆ กันบ้าง
กลยุทธ์ซื้อความผันผวน Long Volatility
เป็นกลยุทธ์แบบไม่ต้องสนใจทิศทางของราคาว่าจะขึ้นหรือลง แต่เป็นการเก็งกำไรเรื่องการเคลื่อนไหวหรือการแกว่งตัวของดัชนีว่าจะรุนแรงแค่ไหน เช่น
- Long Straddle
เป็นการ Long Call และ Long Put บน Strike Price เดียวกันที่ At-The-Money (ATM)
กำไรจากการทำ Long Straddle จะไม่ขึ้นกับทิศทางดัชนี แต่ขึ้นอยู่กับความผันผวนของดัชนีว่าจะแกว่งตัวได้รุนแรงเท่าไร และเนื่องจากเป็นการ Long ที่ ATM จึงทำให้จ่ายค่า Premium ค่อนข้างสูง
- Long Strangle
เป็นการ Long Call และ Long Put คนละ Strike Price ที่ Out-of-The-Money (OTM)
การทำ Long Strangle จะใช้เงินทุนน้อยกว่า Long Straddle เพราะซื้อที่ OTM ซึ่งจะจ่ายค่า Premium น้อยกว่า โดยจะขาดทุนได้มากที่สุดเท่ากับค่า Premium ของทั้ง Call และ Put ที่ซื้อไปรวมกันเช่นกัน
สองวิธีการนี้จะใช้เงินลงทุนมากกว่าการ Long Call หรือ Long Put แบบปกติถึงสองเท่า เพราะต้องเสียค่า Premium ทั้ง 2 ขา หากใช้กลยุทธ์นี้ในขณะที่มีค่า Volatility ต่ำหรือแกว่งได้ไม่เยอะมากพอ อาจทำให้ไม่คุ้ม ดังนั้นกลยุทธ์นี้จึงต้องพิจารณาทิศทาง Volatility ว่ามีแนวโน้มมากขึ้นหรือไม่
กลยุทธ์ขายความผันผวน Short Volatility
เป็นกลยุทธ์ที่ต้องการให้ดัชนีไม่แกว่งตัวไปไหน ลุ้นให้ดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ เก็งกำไรจากค่าความผันผวนที่ต่ำ เช่น
- Short Straddle
เป็นการ Short Call และ Short Put บน Strike Price เดียวกันที่ At-The-Money
ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ตรงกันข้ามกับ Long Straddle โดยคาดว่าดัชนีจะไม่แกว่งตัว และรับค่า Premium มาก่อน ซึ่งความเสี่ยงจะค่อนข้างสูงหากตลาดมีทิศทาง และสามารถขาดทุนได้ไม่จำกัดหากถูกใช้สิทธิ์ จากดัชนีที่เคลื่อนไหวรุนแรงไม่ว่าจะทิศทางใดก็ตาม
- Short Strangle
เป็นการ Short Call และ Short Put พร้อมกัน แต่คนละ Strike Price ที่ Out-of-The-Money
กลยุทธ์นี้ความเสี่ยงและกำไรจะน้อยกว่า Short Straddle จากช่วงราคาที่สามารถขยับได้กว้างกว่า แต่ก็ยังสามารถขาดทุนได้ไม่จำกัดเช่นกันหากถูกใช้สิทธิ์ หรือดัชนีเคลื่อนไหวรุนแรง
ข้อควรระวังของการใช้สองกลยุทธ์นี้คือต้องวางเงินหลักประกันและต้องเผื่อไว้มากพอสมควร เพราะหากผิดทางอาจสร้างความเสียหายได้ไม่จำกัด
ต่อยอดกลยุทธ์ จำกัดขาดทุนโดยยอมลดกำไร
- Short Straddle ปรับเป็น Long Butterfly
ด้วยการเพิ่ม Long Call และ Long Put ใน Strike Price ที่ Out-of-The-Money เพื่อเป็นการจำกัดขาดทุนหากดัชนีวิ่งไปได้ไกล
- Short Strangle ปรับเป็น Long Condors
ด้วยการเพิ่ม Long Call และ Long Put ใน Strike Price ที่ Out-of-The-Money ที่ไกลมากขึ้น กลยุทธ์นี้ก็ทำเพื่อจำกัดความเสี่ยงเช่นกัน
การแก้ไขพอร์ต Short Options ด้วย Futures ดีหรือไม่?
ในความเป็นจริงการใช้ Futures ภายหลังนั้นมีสิทธิ์เกิด Gap จากจุดที่เคยได้เข้า Options ไว้มาก เนื่องจากเป็นการวางแผนทีหลัง ซึ่งค่า Delta ของ Futures คือ 1 ตรงๆ เสมอ ไม่เหมือนกับ Options
ยกตัวอย่าง
หากใช้กลยุทธ์ Short Straddle/Strangle ก่อน แล้วดัชนีกำลังจะปรับตัวลงหลุดกรอบ Payoff Options ของเรา เลยมา Short Futures เพิ่ม ซึ่งหากดัชนีลงจริง Futures จะช่วยจำกัดขาดทุน แต่กลับกันหาก Short Futures แล้วดัชนีดีดกลับไปที่เดิม เราจะเสียหายกว่าเดิมเพราะ Options ที่เราถือมีค่า Delta น้อยกว่า Futures จะทำให้ผลขาดทุนจาก Futures วิ่งเร็วกว่าผลกำไรของ Options ซึ่งจะแก้ปัญหาต่อไปได้ลำบากมากขึ้น การตัดขาดทุนปิดสถานะน่าจะแก้ปัญหาได้ถูกจุดกว่า และไม่โดนค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมด้วย ดังนั้นควรมองกลยุทธ์การเข้าออกเป็นทีละชุด หากเราเข้าด้วยแผนใดก็ควรออกด้วยแผนนั้น
กลยุทธ์อื่นๆ
หากเริ่มต้นกลยุทธ์ด้วย Options เช่น
เริ่มด้วย Long Put เพราะมองว่าดัชนีน่าจะลง หากลงมาจริงจนได้กำไรจาก Put Options และมองว่าติดแนวรับ ถ้าเราเข้าไป Long Futures เพิ่ม จุดนี้จะกลายเป็นว่าเราลุ้นขาขึ้นจาก Futures แล้วยังมี Put Options ที่ช่วยเราเหมือนเป็น Stop Loss หากเราผิดทางจาก Futures ด้วย ซึ่งหลังจากนั้นก็สามารถหาจังหวะปิดสถานะ Futures เพื่อรับ Cash Flow ได้
หรือการเริ่มต้นกลยุทธ์ด้วย Futures เช่น
เริ่มด้วย Long Futures ช่วงแนวโน้มขาขึ้น หากถูกทางแต่ดูแล้วยังมีโอกาสไปได้ต่อ ก็สามารถปิด Futures แล้วนำกำไรที่ได้มา Long Call แทน จะกลายเป็นว่าเราสามารถลุ้นขาขึ้นได้ต่อโดยใช้ Cash Flow ที่ได้รับจาก Futures นั้นมาจ่ายค่า Premium แทน เป็นมุมมองการใช้ Futures เพื่อรับ Cash Flow แล้วนำ Cash Flow ที่ได้นี้ไปทำกลยุทธ์ต่อ
สุดท้ายไม่ว่าคุณจะใช้กลยุทธ์ใด ทุกกลยุทธ์ล้วนมีความเสี่ยงและผลตอบแทนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับมุมมองและความเสี่ยงที่รับได
เริ่มทบทวนดู VDO Series Options ตอนที่ #6 เทรด Options ควบคู่กับ Futures
ดูรายละเอียดสินค้าใน SET50 Options เพิ่มเติมได้ที่
คอร์ดเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Options ฟรี!
หลักสูตร SET50 Options ฉบับมือใหม่ทั้งหมดได้ที่
หลักสูตร Options First Class ได้ที่
Options Workshop From Home ได้ที่