TFEX
5 Min Read

ไม่ต้องรู้ว่าราคาจะขึ้นหรือลงก็ทำกำไรได้ (ตอนที่ 2)

by บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
ไม่ต้องรู้ราคาจะขึ้นหรือลง ก็ทำกําไรได้ (ตอนที่ 2)
โดยทีม TFEX Business บล. Finansia Syrus

          สวัสดีครับพบกันอีกครั้งกับบทความ “ไม่ต้องรู้ว่าราคาจะขึ้นหรือลง ก็ทำกําไรได้ ” ซึ่งตอนนี้จะเป็นบทความตอน ที่ 2 และมีเนื้อหาที่ต่อเนื่องจากตอนที่ 1 ที่ผมได้แนะนําเกี่ยวกับวิธีในการทำกําไรโดยไม่ต้องเก็งทิศทางของราคา ด้วยการ ซื้อ OTM Call Option และ OTM Put Option พร้อม ๆ กัน หรือที่เราเรียกว่ากลยุทธ์การซื้อความผันผวน

          หลังจากที่เพื่อนๆ รู้แล้วว่าเราสามารถทำกําไรจากความผันผวนได้อย่างไร ก็คงจะมีข้อสงสัยต่อไปว่าแล้วกล ยุทธ์นี้จะนําไปใช้งานได้ในช่วงจังหวะของตลาดแบบไหนบ้าง ซึ่งในบทความตอนที่ 2 จะมาเฉลยให้ดูกันครับว่าจังหวะ ไหนที่น่าสนใจหรือเป็นจังหวะที่ดีในการเฝ้าสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมตัวลงมือเทรด Options ด้วยกลยุทธ์ ซื้อความผันผวน
 
จุดตั้งต้น คือ หาจังหวะที่คาดว่าอนาคตอันใกล้ราคาจะผันผวน

          ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ได้กําไรจากการกลยุทธ์ในการซื้อความผันผวน คือ ในอนาคตอันใกล้ราคาจะต้องมีความ ผันผวน (มีการขึ้นหรือลงของราคาก็ได้อย่างมีนัยสำคัญ) จึงจะทำให้คนใช้กลยุทธ์นี้ได้กําไร ซึ่งจังหวะที่จะทำให้ราคามี ความผันผวนมักจะเป็นจังหวะที่มีนักลงทุนหรือนักเก็งกําไรในตลาดจำนวนมากให้ความสนใจ โดยจะใช้มุมมองเชิง ปัจจัยพื้นฐานหรือปัจจัยทางด้านเทคนิคก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
1. ช่วงที่มีข่าวหรือกําลังจะมีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้น
2. จังหวะที่ราคาเคลื่อนที่เข้ามาเจอระดับราคาแนวรับ-แนวต้านทางเทคนิค
3. ช่วงที่ราคามีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ เป็นเวลานาน
4. จังหวะที่ราคามีการ Break Out แนวรับ-แนวต้านสำคัญๆ
 
ช่วงที่มีข่าวหรือกําลังจะมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เกิดขึ้น

          ในปี 2560 มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่กระทบต่อจิตวิทยาของนักลงทุน เช่น การลงประชามติของชาวอังกฤษในการ แยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ในช่วงนั้นไม่มีใครรู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่รู้ว่าถ้าผลออกมาดีตลาดหุ้นก็จะปรับตัว เพิ่มขึ้น แต่ถ้าผลออกมาไม่ดีตลาดหุ้นก็น่าจะปรับตัวลดลง

          สถานการณ์แบบนี้คนที่ต้องการทำกําไรจากทิศทางของราคาจะประสบกับภาวะตัดสินใจลําบากว่าจะลงมือ อย่างไรดี เพราะถ้าลงมือผิดทิศทางกับผลที่ออกมาก็อาจจะทำให้เกิดผลขาดทุนได้ ในจังหวะแบบนี้หากพิจารณาใน มุมมองของความผันผวนก็จะเห็นได้ว่า ในอนาคตน่าจะมีความผันผวนของราคาเกิดขึ้นแน่ ๆ แต่เราไม่รู้ว่าจะผันผวนไปใน ทิศทางขึ้นหรือลงเท่านั้นเอง ดังนั้นกลยุทธ์การซื้อความผันผวนจึงเหมาะกับเหตุการณ์ในลักษณะนี้นั่นเอง
ไม่ต้องรู้ว่าราคาจะขึ้นหรือลงก็ทำกำไรได้ (ตอนที่ 2)1

รูปตัวอย่างแสดงการเคลื่อนที่ของดัชนี SET50 ในช่วงเวลาที่เกิด Brexit และเลือกตั้งอเมริกา (ที่มา : โปรแกรม Streaming)

          จากรูปตัวอย่างแสดงการเคลื่อนที่ของดัชนี SET50 ในช่วงเวลาจะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ทั้ง 2 เหตุการณ์ ถึงแม้ไม่ใช่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยแต่เป็นเหตุการณ์ส่งผลกับเศรษฐกิจโลกและกระทบต่อจิตวิทยาการลงทุนของนักลงทุน จำนวนมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลังจากที่ผลประกาศออกมาแล้วดัชนี SET50 ก็มีการซื้อขายที่มีความผันผวนเช่นเดียวกัน
 
จังหวะที่ราคาเคลื่อนที่เข้ามาเจอระดับราคาแนวรับ-แนวต้านทางเทคนิค

          ในมุมมองของนักลงทุนสายเทคนิค จุดที่เป็นแนวรับ-แนวต้านทางเทคนิคจะเป็นจุดสำคัญที่นักลงทุนกลุ่มนี้ให้ ความสนใจและพิจารณาหาจังหวะเพื่อลงมือซื้อขาย โดยที่ระดับราคาที่เป็นแนวรับ-แนวต้านจะเป็นระดับราคาที่แรงซื้อแรง ขายจะมาทดสอบกําลังกัน จึงเป็นระดับราคาที่จะมีนักลงทุนในตลาดเข้ามามีส่วนร่วมเป็นจำนวนมาก

          ในช่วงที่ราคากําลังเคลื่อนที่เข้ามาเจอกับแนวรับ-แนวต้านทางเทคนิค ทุกคนจะต้องเจอกับคําถามว่าอนาคตจะ เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ระหว่าง 1) แนวรับ-แนวต้านเอาอยู่ ทำให้ราคาเกิดการกลับตัวจากทิศทางก่อนหน้า หรือ 2) ถ้าแนว รับ-แนวต้านเอาไม่อยู่ ก็จะทำให้เกิดการเบรกของราคาผ่านทะลุแนวรับ-แนวต้านเหล่านั้นไปได้ ซึ่งมันต้องเกิดเหตุการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นก็หมายความว่าในอนาคตไม่นานต่อจากนี้ น่าจะมีความผันผวนของราคาเกิดขึ้นนั่นเอง
ไม่ต้องรู้ว่าราคาจะขึ้นหรือลงก็ทำกำไรได้ (ตอนที่ 2)2

รูปตัวอย่างแสดงการเคลื่อนที่ของดัชนี SET50 เมื่อมีการเคลื่อนที่เข้าหา Moving Average
ซึ่งเป็นแนวรับ-แนวต้านทางเทคนิค (ที่มา : โปรแกรม Streaming)


          จากรูปตัวอย่างใช้ Moving Average เป็นตัวแทนของแนวรับ-แนวต้านทางเทคนิค จะสังเหตุเห็นได้ว่าเมื่อดัชนี SET50 มีการเคลื่อนที่มาที่บริเวณ Moving Average มักจะมีการกลับตัวของราคาหรือมีการเบรกแนวรับ-แนวต้านไปได้ (มีความผันผวนของราคา) จึงเป็นจุดที่น่าสนใจจุดหนึ่งในการซื้อความผันผวน

ช่วงที่ราคามีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ เป็นเวลานาน

          ช่วงที่ราคามีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ เป็นเวลานาน ในมุมมองทางเทคนิคจะเรียกระดับราคาในบริเวณนั้น ว่า Horizontal Consolidation Region (HCR) ซึ่งคนที่เข้ามาซื้อความผันผวนในบริเวณนี้มีสมมติฐานว่าระดับราคาที่ เคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ เป็นเวลานานนั้นจะมีคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องและมีต้นทุนที่ระดับราคานั้นเป็นจำนวนมาก และถ้า ราคามีการเคลื่อนที่ออกจาก HCR ก็จะสามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้โดยมีระยะทางพอสมควร

          อย่างไรก็ตามระหว่างที่ราคากําลังเคลื่อนที่ในกรอบแคบ ๆ เป็นการยากที่จะคาดเดาได้ว่าจะเคลื่อนที่ออกจาก HCR ในทิศทางใดระหว่างขึ้นหรือลง ซึ่งจากภาพตัวอย่างจะเห็นได้ว่าหลังจากที่ดัชนี SET50 มีการเคลื่อนที่ในกรอบแคบ ๆ เป็นเวลานาน เกิดการปรับตัวลดลง และเป็นการปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นถ้าหากเราไม่มั่นใจว่าราคาจะไปในทิศทางใดในอนาคต เราอาจจะเลือกใช้กลยุทธ์การซื้อความผันผวนแทนการเก็งกําไรทิศทางของราคาก็ได้

ไม่ต้องรู้ว่าราคาจะขึ้นหรือลงก็ทำกำไรได้ (ตอนที่ 2)3

รูปตัวอย่างแสดงการเคลื่อนที่ของดัชนี SET50 หลังจากมีการเคลื่อนที่ในกลอบแคบๆ
เป็นระยะเวลานาน (ที่มา : โปรแกรม Streaming)

จังหวะที่ราคามีการ Break Out แนวรับ-แนวต้านสำคัญ ๆ

          มีสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการตัดสินใจลงมือเทรดหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือแทบทุกคน จะต้องมีโอกาสเจอกับสัญญาณหลอก (False Signal) ซึ่งเป็นสัญญาณทางเทคนิคที่เกิดขึ้นเพื่อให้ลงมือซื้อหรือขายใน ทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่ปรากฏว่าหลังจากนั้นราคากลับตัวอย่างรวดเร็วไปในทิศทางตรงข้ามทำให้เกิดผลขาดทุน

          ในมุมองของการซื้อความผันผวนด้วยสัญญาณซื้อขายทางเทคนิคมีไอเดียว่า ถ้าสัญญาณซื้อขายนั้นเป็น สัญญาณจริงราคาก็จะเคลื่อนที่ไปต่อในทิศทางนั้นได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าเป็นสัญญาณหลอกราคาก็จะกลับทิศทาง แล้วเคลื่อนที่ไปอีกทิศทางหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสัญญาณจริงหรือสัญญาณหลอกราคาน่าจะมีการเคลื่อนที่เพียงแค่เรา ไม่มั่นใจว่าการเคลื่อนที่นั้นจะเป็นทิศทางไหน ซึ่งถ้าเราเชื่อว่าราคาไม่น่าจะหยุดนิ่งก็จะมีโอกาสทำกําไรจากการซื้อความ ผันผวนนั่นเอง
ไม่ต้องรู้ว่าราคาจะขึ้นหรือลงก็ทำกำไรได้ (ตอนที่ 2)4

รูปตัวอย่างแสดงการเคลื่อนที่ของดัชนี SET50 หลังจากมีสัญญาณซื้อขายทางเทคนิค (ที่มา : โปรแกรม Streaming)

สรุป

          วิธีหนึ่งในการซื้อความผันผวนสามารถทำได้โดย ซื้อ OTM Call Option และ OTM Put Option พร้อม ๆ กัน ส่วน จังหวะที่น่าสนใจในการพิจารณาซื้อความผันผวน คือ จังหวะที่มีนักลงทุนในตลาดให้ความสนใจจำนวนมาก ๆ ซึ่งจะทำให้ เกิดกิจกรรมกการซื้อขายมากตามมา เช่น ช่วงที่จะมีข่าวหรือเหตุการณ์สำคัญ ๆ ช่วงที่ราคาเคลื่อนที่มาบริเวณแนวรับแนว ต้าน ช่วงที่ราคามีการเคลื่อนที่ในกรอบแคบ ๆ เป็นเวลานาน หรือช่วงที่เกิดสัญญาณซื้อขายทางเทคนิค เป็นต้น นอกจากนั้นคนที่สนใจกลยุทธ์ซื้อความผันผวนต้องทำความเข้าใจว่ากลยุทธ์นี้จะใช้งานได้ดี ราคาควรจะต้องมีการ เคลื่อนที่แบบมีนัยสำคัญ ถ้าหากราคาอยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานานอาจทำให้เราขาดทุนได้จากผลกระทบของ Time Decay

          ทีมงาน TFEX Business หวังว่าบทความเรื่องการซื้อความผันผวนจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านสามารถเพิ่มเติม มุมมองและไอเดียในการเทรดได้หลากหลายขึ้น สำหรับนักลงทุนที่สนใจข่าวสาร บทวิเคราะห์ และบทความเกี่ยวกับการ ลงทุนทั้งหุ้นและอนุพันธ์ สามารถติดตามผลงานดี ๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.insyrus.com หรือที่ Facebook : www.facebook.com/fnsyrus/

ดูรายละเอียดสินค้าใน SET50 Options เพิ่มเติมได้ที่ linkout

คอร์ดเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Options ฟรี!     

หลักสูตร SET50 Options ฉบับมือใหม่ทั้งหมดได้ที่ linkout
หลักสูตร Options First Class ได้ที่ linkout
Options Workshop From Home ได้ที่ linkout 

 

สนใจเปิดพอร์ตลงทุนกับ บล.ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
ติดต่อ ฝ่ายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ส่วนงานการตลาด
โทร. 02-658-9801-2 E-mail : ofc-center@fnsyrus.com หรือสมัครผ่านทางเว็บไซต์ : www.fnsyrus.com/th/open-ac/fast-track

บทความที่เกี่ยวข้อง