ใครอยากที่จะเปิดสถานะ Long SET50 Options ฟังทางนี้! ทุกคนอาจสงสัยว่าจะต้องเตรียมตัวอะไร ต้องรู้ข้อมูลเรื่องไหนบ้าง เราจึงจะมาบอกถึงข้อควรรู้ต่างๆ เพื่อให้ทุกคนรู้ก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจ และเตรียมตัวเปิดสถานะได้ก่อนใคร
1. รู้ดัชนีอ้างอิง SET50 Options อ้างอิงดัชนี SET50 ซึ่งเป็นตัวแทนของแนวโน้มตลาดหุ้นไทย โดยคำนวณมาจากหุ้นขนาดใหญ่ 50 บริษัท ซึ่งการเปิดสถานะ Long นั่นหมายความว่าเรากำลังคาดการณ์ว่าภาพรวมเศรษฐกิจหรือหุ้นขนาดใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้น2. รู้ราคาซื้อสัญญาออปชั่น ออปชันถือเป็นเรื่องของการซื้อขายสิทธิ การเปิดสถานะ Long หรือก็คือการซื้อสิทธิ เปรียบเหมือนกับเราซื้อใบจอง หรือซื้อลอตเตอรี่นั่นเอง โดยราคาที่แสดงบนกระดานซื้อขายเราจะเรียกว่าค่าพรีเมี่ยม (Premium) ซึ่งค่าพรีเมี่ยมนี้จะเรียกหน่วยเป็นจุด และ 1 จุดมีมูลค่า 200 บาท (ตัวคูณดัชนี = 200) ดังนั้น หากเปิดสถานะ Long Call Options ที่ราคา 15 จุด นั่นหมายความว่าเราต้องชำระเงินค่าซื้อสิทธิ 15*200 = 3,000 บาท3. รู้วันหมดอายุ สัญญาออปชั่นมีวันหมดอายุเป็นรายเดือน มีตั้งแต่เดือนมกราคม (F) กุมภาพันธ์ (G) มีนาคม (H) ไปจนถึงธันวาคม (Z) ซึ่งเราสามารถรู้ได้จากชื่อสัญญา (อ่านสัญลักษณ์เพิ่มเติมที่ http://bit.ly/36nBwGY) เช่น S50H20C1100 หมายถึง สิทธิซื้อดัชนี (S50) ที่ระดับราคา 1,100 (C1100) หมดอายุเดือนมีนาคม 2020 (H20) นั่นหมายความว่า หากเราซื้อ Long S50H20C1100 หากดัชนีขึ้นไม่ถึง 1100 ภายในเดือนมีนาคม แปลว่าเราคาดการณ์ผิด และจะไม่ได้ใช้สิทธิที่เราซื้อมา4. รู้มูลค่าที่แท้จริงและมูลค่าทางเวลา ราคาของออปชันหรือค่าพรีเมี่ยม (Premium) แท้จริงแล้วประกอบด้วย มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) + มูลค่าทางเวลา (Time Value) เช่น ปัจจุบันดัชนี SET50 อยู่ที่ 1111 ขณะที่ S50H20C1100 มีราคา 12จุด เราคำนวณหาค่าออกมาได้ว่า เป็นมูลค่าที่แท้จริง 1111-1100 = 11 จุด และเป็นมูลค่าทางเวลา 12-11 = 1 จุด หรือในอีกกรณีหากดัชนีลดลงไปอยู่ที่ 1,075 แล้ว S50H20C1100 มีราคาลดลงเหลือ 9จุด เราจะคำนวณหาค่าออกมาได้ว่า มูลค่าที่แท้จริง 1,075-1,100 = -25 (มูลค่าที่แท้จริงมีค่าต่ำสุดได้แค่ 0 หรือไม่มีค่า) ดังนั้นราคาออปชันที่เหลือจึงเป็นมูลค่าทางเวลาเท่านั้น 9-0 = 9จุด (ถ้าถือไปจนหมดอายุ ก็ใช้สิทธิไม่ได้หรือสัญญาจะมีค่าเป็น 0 นั่นเอง)
5. รู้สถานะของออปชั่น จากการรู้มูลค่าที่แท้จริงของออปชั่น ทำให้เรารู้ว่าออปชันที่จะลงทุนมีสถานะเป็น ITM (In-the-Money) ราคาใช้สิทธิต่ำกว่าราคาดัชนีอ้างอิง หรือ ATM (At-the-Money) ราคาใช้สิทธิใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง หรือ OTM (Out-of-the-Money) ราคาใช้สิทธิสูงกว่าดัชนีอ้างอิง ดังนั้นการรู้สถานะของออปชั่นจึงทำให้เรารู้ว่ามีความเสี่ยงมากขนาดไหนสำหรับการลงทุน โดย ITM ผู้ซื้อมีความเสี่ยงต่ำสุด เพราะได้ใช้สิทธิแน่นอน ดังนั้นจึงต้องจ่ายค่าเบี้ย (พรีเมี่ยม) แพงที่สุด กลับกัน OTM ผู้ซื้อมีความเสี่ยงสูงที่สุด เพราะตอนนี้มูลค่าที่แท้จริงเป็นศูนย์ หากดัชนีไม่ขึ้นมาการถือออปชันจะทำให้ขาดทุนทั้งจำนวน ดังนั้นค่าพรีเมี่ยมจึงถูก (ยิ่งโอกาสใช้สิทธิน้อย ค่าพรีเมียมจะยิ่งถูก)6. รู้โอกาสกำไรขาดทุน การที่ราคาออปชันจะเพิ่มขึ้นได้ แปลว่าดัชนีอ้างอิงต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งสิทธิของออปชันมีทั้งที่เป็น ITM (In-the-Money), ATM (At-the-Money), OTM (Out-of-the-Money) ดังนั้นเมื่อดัชนีเพิ่มขึ้น 1จุด ไม่ได้แปลว่าราคาออปชั่นจะเพิ่มขึ้น 1จุดด้วย เพราะราคาที่ใช้สิทธิไม่เท่ากันจึงทำให้ราคาเพิ่มไม่เท่ากัน ซึ่งเราสามารถคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ด้วยสูตร Black Scholes Model บนเว็บไซต์ http://bit.ly/2vaxsNt
หรือบน Settrade Streaming on PC สรุป หากเก็งว่าดัชนีจะขึ้น +10 จุด อาจต้องลองคำนวณว่า ออปชั่นตัวไหนที่ให้ผลตอบแทนเป็นไปตามเป้าหมายมากที่สุดเมื่อเทียบกับเงินลงทุน หรือกรณีถ้าถือไปแล้ว 3 วัน ดัชนียังไม่ขึ้น ราคาออปชั่นจะลดลงเท่าไหร่ เป็นต้น7. รู้สภาพคล่อง การลงทุนในสินค้าที่มีสภาพคล่องสูง มีปริมาณ Bid-Offer เยอะ มี Volume ที่ Matched ไปแล้วเยอะ หรือมี OI (Open Interest) ที่ผู้ลงทุนถืออยู่เยอะ แสดงว่าสินค้ามีผู้สนใจมาก ราคามักจะเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว มีช่วงห่างของราคาไม่มาก เหมาะกับการซื้อๆขายๆ ดังนั้นหากสินค้าไม่มีสภาพคล่อง ผู้ลงทุนควรหลีกเลี่ยง หรือหากต้องการลงทุนจริงๆก็ต้องเข้าใจสภาวะตลาดก่อนการตัดสินใจลงทุนด้วย8. รู้จักสิทธิที่ได้มา ผู้ที่เปิดสถานะ Long Call Options ก็คือผู้ที่ได้สิทธิในการซื้อดัชนีอ้างอิง ณ ระดับราคาที่กำหนด โดยจ่ายเงินค่าพรีเมี่ยมแลกมา นั่นหมายความว่าเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ก็เหมือนกับตั๋วรถไฟ ใบจอง ฯลฯ หากมีกำไรหรือคุ้มค่าเราก็จะเลือกใช้สิทธิ แต่ถ้าผิดทาง หรือต้องจ่ายเงินเพิ่มมาก เราก็จะเลือกไม่ใช้สิทธิ ซึ่งแปลว่า Long Call Options จ่ายค่าพรีเมี่ยมไปแล้วก็จบ ค่อยลุ้นไปว่าจะมีกำไรหรือไม่ แต่หากผิดทางก็ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่ม
9. รู้ว่าเมื่อมีกำไรหรือขาดทุนจะทำอะไรได้บ้าง
หากซื้อ Long Call Options แล้วหุ้นขึ้นจริง ราคาพรีเมี่ยมก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้น แปลว่าผู้ลงทุนจะมีกำไร ถ้าหากขายสิทธิที่ซื้อมานี้ ก็จะมีกำไรส่วนต่างจากตอนซื้อมา โดยเมื่อหุ้นขึ้น ราคาออปชั่นขึ้น ผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องลุ้นให้ขึ้นจนหมดอายุสัญญา แต่สามารถขายทำกำไรจากส่วนต่างค่าสิทธิที่ซื้อมานี้ได้เลย กลับกันถ้าหุ้นตก ราคาออปชั่นลดลง ผู้ลงทุนก็สามารถขายสิทธิทิ้งไป โดยอาจลดราคาลง อย่างน้อยก็ได้เงินคืนมาบางส่วน ดีกว่าถือไปจนหมดอายุแล้วไม่ได้ใช้สิทธิ กลายเป็นเสียเงินก้อนทั้งหมด
10. รู้ว่าเมื่อถือสัญญาไปจนหมดอายุจะเกิดอะไรขึ้น
เฉพาะผู้ที่ถือสิทธิมีสถานะเป็น ITM (In-the-Money) หรือดัชนีอยู่สูงกว่าสิทธิที่ซื้อไว้ เท่านั้นที่จะมีกำไร เช่น ซื้อสิทธิ S50H20C1100 แล้วดัชนีปิด ณ วันสุดท้าย Final Settlement Price = 1,130 เราจะมีกำไร (1,130– 1,100)*200 = 20*200 = 4,000 บาท ซึ่งระบบจะช่วยคำนวณให้ผู้ลงทุนว่าสุดท้ายแล้วจะเหลือกำไรเท่าไหร่แล้วจะโอนเงินไปให้ในบัญชีผู้ลงทุนทันที
แต่อย่าลืมว่าเราได้จ่ายค่าซื้อสิทธิ (พรีเมี่ยม) ไว้ก่อนแล้ว เช่น หากซื้อสิทธิไว้ตอน 10 จุด (10*200 = 2,000 บาท) การลงทุนครั้งนี้ก็จะมีกำไร แต่ถ้าหากซื้อสิทธิไว้ตอน 25 จุด (25*200 = 5,000 บาท) สุดท้ายการลงทุนครั้งนี้แม้จะได้กำไรจากส่วนต่างราคาใช้สิทธิ แต่ต้นทุนที่ซื้อมาทั้งหมดแล้วอาจทำให้การลงทุนครั้งนี้ติดลบได้
ดูรายละเอียดสินค้าใน SET50 Options เพิ่มเติมได้ที่
คอร์ดเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Options ฟรี!
หลักสูตร SET50 Options ฉบับมือใหม่ทั้งหมดได้ที่
หลักสูตร Options First Class ได้ที่
Options Workshop From Home ได้ที่