เริ่มต้นทำความเข้าใจตลาดอนุพันธ์ หรือ TFEX พร้อมเรียนรู้สินค้าที่มีการซื้อขายใน TFEX กลไกการซื้อขาย และแนวทางการใช้ประโยชน์สินค้าในตลาด TFEX เนื้อหาส่วนนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนมือใหม่ หรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้ตลาด TFEX ตั้งแต่เริ่มต้น
การซื้อขายในตลาด TFEX ผู้ลงทุนจะเข้ามาทำการซื้อขายตราสารทางการเงินที่เรียกว่า "อนุพันธ์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า" ซึ่งหลักการและกลไกการซื้อขายตราสารประเภทนี้ จะมีความแตกต่างกับการลงทุนในหุ้นอยู่หลายประเด็น
อนุพันธ์ (Derivatives)
อนุพันธ์ (Derivatives) เป็นสินค้าทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือ เป็นสินค้าที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่มีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินค้าอื่นที่อนุพันธ์นั้นอ้างอิงอยู่ โดยสินค้าที่อนุพันธ์อ้างอิงมูลค่า จะเรียกว่า สินค้าอ้างอิง (Underlying Asset) และลักษณะเด่นของอนุพันธ์อีกอย่างหนึ่ง คือ มีอายุจำกัด ซึ่งเมื่ออนุพันธ์หมดอายุ มูลค่าของอนุพันธ์นั้น ๆ ก็จะหมดลงด้วย
การลงทุนในตลาด TFEX ผู้ลงทุนจะเข้ามาทำการซื้อขายตราสารทางการเงินประเภท "สัญญาซื้อขายล่วงหน้า" ซึ่งหลักการ และกลไกการซื้อขายตราสารประเภทนี้จะมีความแตกต่างกับการลงทุนในหุ้นอยู่หลายประเด็น
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคือ สัญญาที่มาทำการตกลงกัน ระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย โดยมีการกำหนด ประเภทสินค้า สเปค ราคา จำนวน วิธีการส่งมอบ และระบุเวลาที่จะทำการรับมอบส่งมอบชำระราคากันในอนาคต
เราเข้ามาซื้อขายอะไรกันใน TFEX
อนุพันธ์ที่ซื้อขายกันในตลาดการเงินทั่วโลกสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชั่น (Options) ฟอร์เวิร์ด (Forward) และสวอป (Swap) ส่สำหรับประเทศไทยนั้น มีศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอย่างเป็นทางการ ที่เรียกว่า "ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ TFEX" ซึ่งจะมีอนุพันธ์ 2 ประเภทให้ซื้อขาย คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) และ ออปชั่น (Options) ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจว่า ลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละประเภทเป็นอย่างไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบของความเสี่ยงและผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเข้ามาซื้อขายฟิวเจอร์สและออปชั่นใน TFEX
ประเภทของสินค้าที่ซื้อขายในตลาดอนุพันธ์
โดยหลักๆ แล้วอนุพันธ์ที่ซื้อขายกันในตลาดเงินทั่วโลก สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
1.ฟิวเจอร์ส (FUTURES) | สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ซื้อขายผ่านตลาดอนุพันธ์ที่มีการจั ดตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ผู้ซื้อและผู้ขายมีพันธะต้องซื้อขายกันตามที่ตกลงในสัญญา |
2.ออปชั่น (OPTIONS) | สัญญาสิทธิ ผู้ขายมีภาระต้องปฎิบัติตามพันธะในสัญญา ในขณะที่ผู้ซื้อมีสิทธิ จะเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ |
3.ฟอร์เวิร์ด (FORWARD) | สัญญาซื้อขายล่วงหน้าคล้ายกับฟิวเจอร์ส แต่ผู้ซื้อ และผู้ขายตกลงซื้อขายกัน นอกตลาดที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ |
4.สวอป (SWAP) | ข้อตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ในการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดใน อนาคต |
ฟิวเจอร์ส (Futures) คืออะไร
ฟิวเจอร์ส (Futures) เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงจะซื้อขาย สินค้าอ้างอิง โดยกำหนดราคากันตั้งแต่วันนี้ แต่จะส่งมอบและชำระเงินในอนาคต ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่จำเป็นต้องถือสัญญาไว้จนครบกำหนด อาจซื้อขายแลกเปลี่ย นมือกันได้ผ่านกลไกของ TFEX แต่หากถือไว้จนครบกำหนด ผู้ซื้อและผู้ขายมีพันธะ "ต้องซื้อขาย" กันตามที่ตกลงในสัญญา
ออปชั่น (Options) คืออะไร
ออปชั่น (Options) เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อหรือผู้ถือออปชันได้รับ "สิทธิซื้อ" หรือ "สิทธิขาย" สินทรัพย์อ้างอิง ตามราคา จำนวน และระยะเวลา ที่ระบุไว้จากผู้ขาย โดย ผู้ซื้อ ต้องจ่าย "ค่าพรีเมียม" (Premium) ซึ่งผู้ถือออปชันสามารถเลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ แต่ผู้ขายมี "ภาระผูกพัน" ต้องปฏิบัติตามสัญญา หากผู้ซื้อขอใช้สิทธิ ซึ่งปัจจุบันออปชันที่ซื้อขายในตลาด TFEX มีเพียง SET50 Index Options
จุดเด่นของอนุพันธ์
ใช้เงินลงทุนน้อย
มีโอกาสได้อัตราผลตอบแทน
สูง:
ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายอนุพันธ์ จะไม่ต้องจ่ายเงิน เต็มมูลค่าสัญญา เพียงแค่วางเงินประกันมูลค่า ประมาณ 10 – 15% ของมูลค่าสัญญาทั้งจำนวน ก่อนซื้อขาย ในขณะที่ผลตอบแทนจะได้จาก มูลค่าสัญญาเต็มจำนวน ทำให้เมื่อคำนวณเป็น อัตราผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุนตั้ง ต้นแล้ว จะพบว่าอนุพันธ์จะให้ผลตอบแทนทั้งด้ านบวกสูง กว่าการซื้อขายหุ้น และในทางตรงกันข้ามอนุพันธ์ ก็อาจสร้างผลขาดทุนได้สูงกว่าการซื้อ ขายหุ้น โดยทั่วไป เช่นกัน |
ใช้ทํากําไรได้ทั้งในตลาดขาขึ้
นและขาลง: ในการตกลงซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วง หน้านั้น ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลง "ราคา" กันว่าจะซื้อ หรือจะขายสินค้ากันในอนาคตที่ราคาเ ท่าไร แต่การชำระราคาจริงนั้นยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงสามารถใช้กลยุทธ์ "ซื้อก่อน ขายทีหลัง" สําหรับทํากําไร ตามปกติในตลาดขาขึ้น หรืออาจจะ "ขายก่อน ซื้อทีหลัง" หากคาดว่าตลาดเป็นตลาดขาลง หากราคาฟิวเจอร์สเคลื่อนไหวขึ้นหรือ ลงตามที่คาดไว้จริง ผู้ลงทุนก็จะได้กำไรตามส่วนต่างที่เกิด ขึ้น |
ใช้เงินลงทุนน้อย
มีโอกาสได้อัตราผลตอบแทน
สูง:
ผู้ลงทุนที่ซื้อหรือขายอนุพันธ์ จะไม่ต้องจ่ายเงิน เต็มมูลค่าสัญญา เพียงแค่วางเงินประกันมูลค่า ประมาณ 10 – 15% ของมูลค่าสัญญาทั้งจำนวน ก่อนซื้อขาย ในขณะที่ผลตอบแทนจะได้จาก มูลค่าสัญญาเต็มจำนวน ทำให้เมื่อคำนวณเป็น อัตราผลตอบแทนเทียบกับเงินลงทุนตั้ง ต้นแล้ว จะพบว่าอนุพันธ์จะให้ผลตอบแทนทั้งด้ านบวกสูง กว่าการซื้อขายหุ้น และในทางตรงกันข้ามอนุพันธ์ ก็อาจสร้างผลขาดทุนได้สูงกว่าการซื้อ ขายหุ้น โดยทั่วไป เช่นกัน |
ใช้ทํากําไรได้ทั้งในตลาดขาขึ้
นและขาลง: ในการตกลงซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วง หน้านั้น ผู้ซื้อและผู้ขายจะตกลง "ราคา" กันว่าจะซื้อ หรือจะขายสินค้ากันในอนาคตที่ราคาเ ท่าไร แต่การชำระราคาจริงนั้นยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงสามารถใช้กลยุทธ์ "ซื้อก่อน ขายทีหลัง" สําหรับทํากําไร ตามปกติในตลาดขาขึ้น หรืออาจจะ "ขายก่อน ซื้อทีหลัง" หากคาดว่าตลาดเป็นตลาดขาลง หากราคาฟิวเจอร์สเคลื่อนไหวขึ้นหรือ ลงตามที่คาดไว้จริง ผู้ลงทุนก็จะได้กำไรตามส่วนต่างที่เกิด ขึ้น |
ฟิวเจอร์สและออปชั่นใน TFEX อ้างอิงกับราคาสินค้าอะไรบ้าง
นอกเหนือจากการแบ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าใน TFEX ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฟิวเจอร์ส และออปชั่นแล้ว เวลาที่ผู้ลงทุนจะทำสัญญาซื้อขายฟิวเจอร์สและออปชั่น ต้องรู้ด้วยว่าฟิวเจอร์สหรือออปชั่นตัวที่เรากำลังจะซื้อจะขายอ้างอิงกับราคาของสินค้าอะไร เพราะว่า ราคา (หรือมูลค่า) ของฟิวเจอร์สและออปชั่น จะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลง โดยอ้างอิงกับราคาของสินค้านั้น ๆ นั่นเอง เช่น ถ้าเราทำสัญญาซื้อหรือขาย SET50 Index Futures ราคา (หรือมูลค่า) ของฟิวเจอร์สชนิดนี้จะปรับตัวขึ้นลงโดยอ้างอิงกับตัวเลขดัชนี SET50 หรือถ้าเราทำสัญญาซื้อขาย Gold Futures ราคา (หรือมูลค่า) ของฟิวเจอร์สชนิดนี้ก็จะปรับตัวขึ้นลงโดยอ้างอิงกับราคาทองคำ เป็นต้น
คลิกเพื่อดูสินค้าอ้างอิงทั้งหมดใน TFEX
ข้อมูลสำคัญของฟิวเจอร์สและออปชั่นแต่ละตัวแสดงอยู่ใน Contract Specification
ฟิวเจอร์สและออปชั่นแต่ละตัวที่มีการซื้อขายอยู่ใน TFEX จะมีลักษณะเฉพาะตัวและกำหนดไว้เป็นมาตรฐานชัดเจน ผู้สนใจซื้อขายจะต้องทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะตัวเหล่านี้ก่อนเริ่มลงมือซื้อขาย เนื่องจากเป็นหลักเกณฑ์และกติกาที่ผู้ลงทุนใน TFEX จะใช้ร่วมกัน โดยข้อมูลสำคัญของฟิวเจอร์สและออปชั่นแต่ละตัวจะแสดงอยู่ใน "ลักษณะของสัญญา" (Contract Specification)
ลักษณะของสัญญา" (Contract Specification
SET50 Index Futures: https://www.tfex.co.th/th/products/s50if-spec.html
SET50 Index Options: https://www.tfex.co.th/th/products/s50io-mktdata.html
Sector Index Futures: https://www.tfex.co.th/th/products/sector-mktdata.html
Single Stock Futures: https://www.tfex.co.th/th/products/stock-mktdata.html
Gold Futures: https://www.tfex.co.th/th/products/gold-mktdata.html
Gold Online Futures: https://www.tfex.co.th/th/products/goldonline-mktdata.html
Gold-D: https://www.tfex.co.th/th/products/goldd-mktdata.html
Interest Rate Futures:
- 3M BIBOR Futures: https://www.tfex.co.th/th/products/bb3-mktdata.html
- 5Y Gov Bond Future: https://www.tfex.co.th/th/products/tgb5-mktdata.html
USD Futures: https://www.tfex.co.th/th/products/usd-mktdata.html
Rubber Futures:
- RSS3 Futures: https://www.tfex.co.th/th/products/rss3-mktdata.html
- RSS3D Futures: https://www.tfex.co.th/th/products/rss3d-mktdata.html
ตัวอย่างหัวข้อที่แสดงอยู่ใน Contract Specification ของฟิวเจอร์สและออปชั่นแต่ละตัว เช่น
"สินค้าอ้างอิง" จะเป็นตัวบอกว่าฟิวเจอร์สและออปชั่นที่เราสนใจซื้อขายอ้างอิงกับราคาของสินค้าตัวไหน เช่น ดัชนี SET50 ราคาหุ้นรายตัว หรือราคาทองคำ เป็นต้น และสินค้าตัวที่ถูกนำมาอ้างอิงนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร
"ขนาดของสัญญา" จะให้ข้อมูลกับเราว่าฟิวเจอร์สและออปชั่นที่เราทำสัญญาซื้อขายจำนวน 1 สัญญา มีขนาดหรือปริมาณเท่ากับเราทำสัญญาซื้อขายสินค้าอ้างอิงจำนวนกี่หน่วย เช่น เท่ากับซื้อขายหุ้น 1,000 หุ้น หรือทองคำน้ำหนัก 10 บาททองคำ เป็นต้น
"วันซื้อขายวันสุดท้าย" จะบอกกับเราว่าฟิวเจอร์สและออปชั่นแต่ละตัวจะหมดอายุเมื่อไหร่ วันไหนและเวลาอะไร ส่วน "ราคาที่ใช้ชำระราคาในวันซื้อขายวันสุดท้าย" จะให้ข้อมูลว่า ถ้าเราถือฟิวเจอร์สและออปชั่นจนหมดอายุ จะใช้ราคาอะไรมาคำนวณผลกำไรขาดทุนในวันสุดท้ายที่ซื้อขาย